ซอยเจริญกรุง 80 (วัดลาดบัวขาว) ซอยเจริญกรุง 82 (มาตานุสรณ์) ซอยเจริญกรุง 107 (ประดู่ 1) สถานที่สำคัญ สถานที่สำคัญของแขวงบางคอแหลมได้แก่ วัดอินทร์บรรจงทรงวาดราษฎร์บำรุง วัดลาดบัวขาว โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ สะพานกรุงเทพ สะพานพระราม 3 วัดพระยาไกร เป็นแขวงหนึ่งของเขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร ที่ตั้งและอาณาเขต แขวงวัดพระยาไกรตั้งอยู่ทางทิศเหนือของเขตบางคอแหลม มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังนี้ ทิศเหนือ ติตต่อกับแขวงยานนาวา (เขตสาทร) มีคลองกรวยเป็นเส้นแบ่งเขต ทิศตะวันออก ติดต่อกับแขวงทุ่งวัดดอน (เขตสาทร) และแขวงบางโคล่ (เขตบางคอแหลม) มีซอยจันทน์ 34/2 (มิตรสามัคคี), ลำกระโดงกิ่งจันทน์, ถนนสุดประเสริฐ, แนวแบ่งเขตการปกครองระหว่างแขวงวัดพระยาไกรกับแขวงบางโคล่, ซอยชุมชนร่วมใจพัฒนา ซอย 4, และแนวแบ่งเขตการปกครองระหว่างแขวงวัดพระยาไกรกับแขวงบางโคล่เป็นเส้นแบ่งเขต ทิศใต้ ติดต่อกับแขวงบางคอแหลม (เขตบางคอแหลม) มีแนวแบ่งเขตการปกครองระหว่างแขวงบางคอแหลมกับแขวงวัดพระยาไกรเป็นเส้นแบ่งเขต ทิศตะวันตก ติดต่อกับแขวงสำเหร่ (เขตธนบุรี) และแขวงบางลำภูล่าง (เขตคลองสาน) มีแนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเส้นแบ่งเขต การคมนาคม ถนนสายหลักในพื้นที่แขวงวัดพระยาไกรได้แก่
ถนนเจริญกรุง ถนนจันทน์ ถนนสายรองและทางลัด ได้แก่ ซอยเจริญกรุง 79 และซอยสุดประเสริฐ 11 (บางขวาง) ซอยเจริญกรุง 85 และซอยสุดประเสริฐ 9 (บ้านใหม่) ซอยจันทน์ 42 (วัดลุ่มเจริญศรัทธา) ซอยจันทน์ 51 (กิ่งจันทน์) สถานที่สำคัญ สถานที่สำคัญของแขวงวัดพระยาไกรได้แก่ วัดราชสิงขร วัดวรจรรยาวาส วัดลุ่มเจริญศรัทธา ศาลแขวงพระนครใต้ บางโคล่ เป็นแขวงหนึ่งของเขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร ที่ตั้งและอาณาเขต แขวงบางโคล่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของเขตบางคอแหลม มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังนี้ ทิศเหนือ ติตต่อกับแขวงทุ่งวัดดอน (เขตสาทร) มีซอยเจริญราษฎร์ 8 (อยู่ดี), ซอยเจริญราษฎร์ 5 (อยู่ดี), ซอยจันทน์ 43 แยก 14 (อยู่ดี 20/1), ซอยจันทน์ 43 (วัดไผ่เงิน), ซอยจันทน์ 43 แยก 33 และซอยสาธุประดิษฐ์ 12 (ทวีสิทธิ์) เป็นเส้นแบ่งเขต ทิศตะวันออก ติดต่อกับแขวงช่องนนทรีและแขวงบางโพงพาง (เขตยานนาวา) มีถนนสาธุประดิษฐ์, แนวแบ่งเขตการปกครองระหว่างเขตยานนาวากับเขตบางคอแหลม, ถนนรัชดาภิเษก และคลองบางมะนาวเป็นเส้นแบ่งเขต ทิศใต้ ติดต่อกับแขวงราษฎร์บูรณะและแขวงบางปะกอก (เขตราษฎร์บูรณะ) มีแนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเส้นแบ่งเขต ทิศตะวันตก ติดต่อกับแขวงบางคอแหลมและแขวงวัดพระยาไกร (เขตบางคอแหลม) มีคลองวัดจันทร์ใน, แนวแบ่งเขตการปกครองระหว่างแขวงบางคอแหลมกับแขวงบางโคล่, คลองวัดจันทร์ใน, แนวแบ่งเขตการปกครองระหว่างแขวงบางคอแหลมกับแขวงบางโคล่, แนวแบ่งเขตการปกครองระหว่างแขวงวัดพระยาไกรกับแขวงบางโคล่, ซอยชุมชนร่วมใจพัฒนา ซอย 4, แนวแบ่งเขตการปกครองระหว่างแขวงวัดพระยาไกรกับแขวงบางโคล่ และถนนสุดประเสริฐเป็นเส้นแบ่งเขต การคมนาคม ถนนสายหลักในพื้นที่แขวงบางโคล่ได้แก่ ถนนพระรามที่ 3 ถนนเจริญราษฎร์ ถนนสาธุประดิษฐ์ ถนนรัชดาภิเษก ทางพิเศษศรีรัช ถนนสายรองและทางลัด ได้แก่ ถนนสุดประเสริฐ ถนนแฉล้มนิมิตร ซอยเจริญกรุง 107, ซอยเจริญราษฎร์ 7 และซอยเจริญราษฎร์ 10 (ประดู่ 1) ซอยเจริญราษฎร์ 5, ซอยเจริญราษฎร์ 5 แยก 4, ซอยเจริญราษฎร์ 7 แยก 7 และซอยเจริญราษฎร์ 8 (อยู่ดี) ซอยเจริญราษฎร์ 7 แยก 35 (ราษฎร์อุทิศ 1) ซอยพระรามที่ 3 ซอย 19 (กรรณิการ์) ซอยพระรามที่ 3 ซอย 23 (วาโก้) ซอยสุดประเสริฐ 9 (บ้านใหม่) ซอยจันทน์ 43 (วัดไผ่เงิน) ซอยจันทน์ 43 แยก 14 (อยู่ดี 20/1) ซอยจันทน์ 43 แยก 41 และซอยสาธุประดิษฐ์ 16 (ภักดีธรรม) ซอยจันทน์ 43 แยก 45 และซอยสาธุประดิษฐ์ 20 (ศิริวัฒนา) สถานที่สำคัญ สถานที่สำคัญของแขวงบางโคล่ได้แก่ วัดจันทร์นอก วัดจันทร์ใน วัดไทร วัดบางโคล่นอก วัดเรืองยศสุทธาราม (บางโคล่ใน) วัดไผ่เงินโชตนาราม สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบ พระชนมพรรษา ถนนเจริญราษฎร์ (อักษรโรมัน: Thanon Charoen Rat) เป็นเส้นทางการคมนาคมในพื้นที่เขตสาทรและเขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร โดยเริ่มต้นจากถนนสาทรใต้ที่ทางแยกสาทร-สุรศักดิ์ในพื้นที่แขวงยานนาวา เขตสาทร แล้วเลียบใต้ทางพิเศษศรีรัชไปทางทิศใต้ เข้าพื้นที่แขวงทุ่งวัดดอน ก่อนตัดกับถนนจันทน์ที่ทางแยกเจริญราษฎร์-จันทน์ จากนั้นจึงแยกออกจากแนวทางพิเศษ เข้าพื้นที่แขวงบางโคล่ เขตบางคอแหลม แล้วมุ่งไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ จนกระทั่งบรรจบกับถนนพระรามที่ 3 ที่ทางแยกเจริญราษฎร์ (ระหว่างคลองบางโคล่กลางกับคลองบางโคล่สาร) ระยะทางรวมประมาณ 3.5 กิโลเมตร ถนนเจริญราษฎร์ตัดขึ้นตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่แขวงยานนาวา แขวงทุ่งวัดดอน และแขวงบางโคล่ เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2526 โดยมีแนวเส้นทางตัดผ่านซอยสาทร 17 (โรงน้ำแข็ง) ซอยเจริญกรุง 57 (ดอนกุศล) ถนนจันทน์ ซอยอยู่ดี ซอยเจริญกรุง 107 (ประดู่ 1) และถนนเจ้าพระยา ไปสิ้นสุดที่แม่น้ำเจ้าพระยา (เมื่อก่อสร้างจริงสิ้นสุดที่ถนนเจ้าพระยา) เนื่องจากระบบถนนสายต่าง ๆ ในพื้นที่เขตยานนาวาขณะนั้นมีเขตทางแคบมากและมีเส้นทางคดเคี้ยวไปมา จึงต้องตัดถนนขึ้นเพื่อแบ่งเบาปริมาณการจราจรบนถนนที่อยู่โดยรอบ เช่น ถนนเจริญกรุง ถนนสาธร และถนนจันทน์แต่กฎหมายดังกล่าวได้หมดอายุบังคับใช้ไปก่อนที่กรุงเทพมหานครจะสำรวจแนวเขตที่ดินที่จะเวนคืนให้แล้วเสร็จ จึงได้ออกพระราชกฤษฎีกาเดียวกันอีกครั้งใน พ.ศ. 2531 จากนั้นจึงเริ่มก่อสร้างจนเสร็จและเปิดการจราจรใน พ.ศ. 2540 ประชาชนทั่วไปรวมทั้งหน่วยงานราชการเรียกถนนสายนี้ว่า ถนนเหนือ-ใต้ หรือ ถนนสาทรตัดใหม่ จนกระทั่งใ พ.ศ. 2544 กรุงเทพมหานครได้ตั้งชื่อถนนสายนี้ใหม่ว่า ถนนเจริญราษฎร์ ตามที่สำนักงานเขตบางคอแหลมเสนอไป เนื่องจากเจริญราษฎร์เป็นชื่อที่มีความหมายและยังคล้องกับถนนเจริญกรุงและถนนเจริญนครที่อยู่ในแนวขนานกันอีกด้วย สะพานพระราม 3 เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา เชื่อมระหว่างถนนรัชดาภิเษกและถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน เขตธนบุรี กับถนนเจริญกรุงและถนนพระรามที่ 3 เขตบางคอแหลม สร้างขนานกับสะพานกรุงเทพ เพื่อบรรเทาปัญหาการจราจรตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องจากสะพานกรุงเทพยังคงต้องเปิด-ปิดสะพานอยู่ จึงต้องสร้างสะพานพระราม 3 ให้สูง เพื่อให้เรือสินค้าแล่นผ่านได้ นอกจากนี้ สะพานพระราม 3 ยังเป็นสะพานแบบอสมมาตรที่สูงเป็นอันดับ 5 ของโลกด้วย และเหตุที่สะพานมีระดับสูงและช่วงทางลงยาวมาก ทำให้มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี นอกจากนั้นในทางลงด้านถนนเจริญกรุงก็ประสบอุบัติเหตุบ่อยครั้ง เนื่องจากเป็นทางลาดชัน จึงเกิดเหตุรถพุ่งเข้าชนบ้านที่อยู่ตรงทางลง ทำให้ต้องมีการสร้างแผงปูนขึ้นกั้นบริเวณบ้านที่อยู่ทางลงด้านนี้ โดยสะพานแห่งนี้ มีระบบขนส่งมวลชน ประเภทรถโดยสารด่วนพิเศษ นั่นคือ รถโดยสารด่วนพิเศษ สายสาทร–ราชพฤกษ์ ใช้ช่องทางร่วมกับรถทั่วไปด้วย โดยช่องเดินรถจะอยู่ด้านขวาสุด ชิดเกาะกลางสะพาน