ติดต่อกับแขวงดินแดงและแขวงรัชดาภิเษก (เขตดินแดง) มีถนนอโศก-ดินแดงและถนนรัชดาภิเษกเป็นเส้นแบ่งเขต บางกะปิ เป็นแขวงหนึ่งในพื้นที่เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร ที่ตั้งและอาณาเขต แขวงบางกะปิตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเขตห้วยขวาง มีอาณาเขตติดต่อกับแขวงข้างเคียงเรียงตามเข็มนาฬิกาดังนี้ ทิศเหนือ ติดต่อกับแขวงห้วยขวางและแขวงสามเสนนอก (เขตห้วยขวาง) มีคลองสามเสนและคลองชวดใหญ่ (ลำรางยมราช) เป็นเส้นแบ่งเขต ทิศตะวันออก ติดต่อกับแขวงวังทองหลาง แขวงพลับพลา (เขตวังทองหลาง) แขวงหัวหมาก (เขตบางกะปิ) และแขวงสวนหลวง (เขตสวนหลวง) มีคลองลาดพร้าวและคลองแสนแสบเป็นเส้นแบ่งเขต ทิศใต้ ติดต่อกับแขวงคลองตันเหนือและแขวงคลองเตยเหนือ (เขตวัฒนา) มีคลองแสนแสบเป็นเส้นแบ่งเขต ทิศตะวันตก ติดต่อกับแขวงมักกะสัน (เขตราชเทวี) มีถนนอโศก-ดินแดงเป็นเส้นแบ่งเขต
สามเสนนอก เป็นแขวงหนึ่งในพื้นที่เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร เป็นแขวงที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของเขตห้วยขวาง สภาพโดยทั่วไปของแขวงเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อยและหนาแน่นปานกลาง และเป็นที่ตั้งของสถานีภาวนา รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ที่ตั้งและอาณาเขต แขวงสามเสนนอกตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเขตห้วยขวาง มีอาณาเขตติดต่อกับแขวงข้างเคียงเรียงตามเข็มนาฬิกาดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับแขวงจันทรเกษม (เขตจตุจักร) และแขวงลาดพร้าว (เขตลาดพร้าว) มีคลองน้ำแก้วและคลองลาดพร้าวเป็นเส้นแบ่งเขต ทิศตะวันออก ติดต่อกับแขวงสะพานสองและแขวงวังทองหลาง (เขตวังทองหลาง) มีคลองลาดพร้าวเป็นเส้นแบ่งเขต ทิศใต้ ติดต่อกับแขวงบางกะปิ (เขตห้วยขวาง) มีคลองชวดใหญ่ (ลำรางยมราช) เป็นเส้นแบ่งเขต ทิศตะวันตก ติดต่อกับแขวงห้วยขวาง (เขตห้วยขวาง) และแขวงรัชดาภิเษก (เขตดินแดง) มีซอยพระราม 9 ซอย 13 (ศูนย์วิจัย 4), แนวแบ่งเขตการปกครองระหว่างแขวงห้วยขวางกับแขวงสามเสนนอก, ถนนเทียมร่วมมิตร, ถนนประชาอุทิศ, คลองชวดบางจาก (ปั้นจาด), ถนนสุทธิสารวินิจฉัย และถนนรัชดาภิเษกเป็นเส้นแบ่งเขต โรงเรียนกวดวิชาเขตห้วยขวาง สอนพิเศษคณิตศาสตร์เขตห้วยขวาง สอนพิเศษวิทยาศาสตร์เขตห้วยขวาง สอนพิเศษภาษาอังกฤษเขตห้วยขวาง สอนพิเศษฟิสิกส์เขตห้วยขวาง เรียนพิเศษคณิตศาสตร์ห้วยขวาง เรียนพิเศษวิทยาศาสตร์เขตห้วยขวาง เรียนพิเศษภาษาอังกฤษเขตห้วยขวาง เรียนพิเศษฟิสิกส์เขตห้วยขวาง
ถนนเพชรบุรี (อักษรโรมัน: Thanon Phetchaburi) เป็นเส้นทางจราจรสำคัญสายหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ถนนเพชรบุรีมีระยะทางประมาณ 9 กิโลเมตรเศษ เริ่มจากบริเวณถนนพิษณุโลกตัดกับถนนสวรรคโลกและถนนหลานหลวงที่ทางแยกยมราชในพื้นที่เขตดุสิต ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ตัดผ่านทางรถไฟสายเหนือเข้าพื้นที่เขตราชเทวี ตัดกับถนนพระรามที่ 6 และผ่านใต้ทางพิเศษศรีรัชที่ทางแยกอุรุพงษ์ ตัดกับถนนบรรทัดทองที่ทางแยกเพชรพระราม ตัดกับถนนพญาไทที่ทางแยกราชเทวี ตัดกับถนนราชปรารภและถนนราชดำริที่ทางแยกประตูน้ำ ซึ่งเดิมถนนเพชรบุรีจะสิ้นสุดแค่ช่วงนี้ ก่อนจะมีการเวนคืนและก่อสร้างถนนตัดใหม่ต่อไปในภายหลัง โดยมุ่งไปทางทิศตะวันออก ตัดกับซอยชิดลมที่ทางแยกชิดลม-เพชรบุรี ตัดกับกับถนนวิทยุที่ทางแยกวิทยุ-เพชรบุรี ผ่านใต้ทางพิเศษเฉลิมมหานคร ตัดกับถนนนิคมมักกะสันและซอยสุขุมวิท 3 (นานาเหนือ) ที่ทางแยกมิตรสัมพันธ์ ตัดกับถนนอโศก-ดินแดงและถนนอโศกมนตรีที่ทางแยกอโศก-เพชรบุรีและเข้าพื้นที่เขตห้วยขวาง ข้ามคลองบางกะปิ ตัดกับซอยเพชรบุรี 38/1 ที่ทางแยกพร้อมพงษ์ ตัดกับซอยสุขุมวิท 63 (เอกมัย) ที่ทางแยกเอกมัยเหนือ ข้ามคลองแสนแสบเข้าพื้นที่เขตสวนหลวง ก่อนไปสิ้นสุดที่สี่แยกคลองตัน ตัดกับถนนรามคำแหง และถนนสุขุมวิท 71 (ปรีดี พนมยงค์) โดยมีถนนที่ตรงต่อเนื่องต่อไปคือถนนพัฒนาการ ถนนเพชรบุรีช่วงตั้งแต่ทางแยกยมราชถึงทางแยกประตูน้ำเป็นถนนที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้กรมสุขาภิบาลตัดขึ้นตั้งแต่ริมคลองขื่อหน้า ปลายถนนคอเสื้อ (ปัจจุบันคือถนนพิษณุโลก) ไปบรรจบถนนราชดำริ เริ่มก่อสร้างในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2448 โดยได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ยืมเงินพระคลังข้างที่มาทดลองทำการ ระหว่างดำเนินการตัดถนน เกิดปัญหาแนวถนนตัดผ่านหมู่บ้านของคนในบังคับต่างประเทศ 2-3 แห่ง จึงต้องเจรจากันเรื่องค่าที่ดิน รัฐบาลได้มอบหมายให้นายเอ็ดเวิร์ด สโตรเบล ที่ปรึกษาราชการชาวอเมริกัน เป็นผู้ดำเนินการเจรจา เมื่อสร้างเสร็จแล้ว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อถนนว่า ถนนประแจจีน ซึ่งเป็นชื่อลวดลายของเครื่องลายครามแบบจีนชนิดหนึ่ง ต่อมาในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2462 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อถนนประแจจีนเป็น ถนนเพชรบุรี ตามพระนามทรงกรมของสมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร ปี พ.ศ. 2505 ทางการได้เวนคืนตลาดเฉลิมลาภเก่าบริเวณสามแยกประตูน้ำ (ปัจจุบันคือสี่แยกประตูน้ำ) โดยตัดถนนต่อออกจากสามแยกประตูน้ำไปจรดซอยสุขุมวิท 71 โดยได้เปิดอย่างเป็นทางการเมื่อปี พ.ศ. 2506 คนทั่วไปนิยมเรียกถนนเพชรบุรีช่วงนี้ว่า "ถนนเพชรบุรีตัดใหม่" โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา เป็นโรงเรียนรัฐบาลประเภทโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 (กรุงเทพมหานคร) ตั้งอยู่ที่เลขที่ 170 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร เปิดสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ถึง ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย แบบสหศึกษา เป็นหนึ่งใน 281 โรงเรียนมัธยมศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จัดให้เป็นโรงเรียนที่มีอัตราการแข่งขันสูง และเป็นหนึ่งใน 40 โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา เดิมคือ โรงเรียนประชาราษฎร์อุปถัมภ์ ซึ่งเคยเป็นโรงเรียนระดับประถมศึกษาสังกัดจังหวัดพระนคร รับนักเรียนชั้นประถมศึกษามาโดยตลอด และได้พัฒนามาเป็นลำดับ วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ได้โอนไปสังกัดกองการประถมศึกษา กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ วันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2521 ได้โอนไปสังกัดกองการมัธยมศึกษา กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ปี พ.ศ. 2527 เป็นปีแห่งการพัฒนาของโรงเรียนในหลาย ๆ ด้าน ทั้งด้านอาคารสถานที่ ด้านระเบียบวินัยของโรงเรียน ด้านงานวิชาการ ระบบระเบียบวินัยของข้าราชครู และด้านสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียน จนทำให้โรงเรียนได้รับรางวัลโรงเรียนพระราชทานกระทรวงศึกษาธิการ จนะวสิด ผู้อำนวยการโรงเรียนในขณะนั้น ตราสัญลักษณ์ประจำโรงเรียน พระเกี้ยว หรือ จุลมงกุฎ เป็นศิราภรณ์ประดับพระเกศา หรือพระเศียรของพระราชโอรสและพระราชธิดาของพระมหากษัตริย์ และเป็นพิจิตรเรขา (สัญลักษณ์) ประจำรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทั้งนี้เพราะ พระนามาภิไธยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คือ "จุฬาลงกรณ์" ซึ่งแปลว่า เครื่องประดับศีรษะ หรือ จุลมงกุฎ ซึ่งมีความหมายเชื่อมโยงกับพระนามาภิไธยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คือ "มงกุฎ" อีกทั้ง พระปรมาภิไธยในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังมีหมายความว่า "พระจอมเกล้าน้อย" อีกด้วย เมื่อพระนามาภิไธยเดิมและพระปรมาภิไธยเดิมของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีความหมายว่าพระเกี้ยว หรือจุลมงกุฎ จึงได้ใช้พระเกี้ยวหรือจุลมงกุฎวางบนเบาะ เป็นพิจิตรเรขาประจำรัชกาลของพระองค์