การแบ่งเขตการปกครอง มุมมองวัดกัลยาณมิตรจากแม่น้ำเจ้าพระยา วันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 สมัคร สุนทรเวช ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครขณะนั้น ได้ลงนามในประกาศจัดตั้งแขวงสำเหร่และแขวงดาวคะนอง แยกจากพื้นที่แขวงบุคคโล แขวงบางยี่เรือ และแขวงตลาดพลู เขตธนบุรี โดยมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ธันวาคม ปีเดียวกัน ทำให้ปัจจุบัน เขตธนบุรีแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 7 แขวง ได้แก่ แขวงวัดกัลยาณ์ แขวงหิรัญรูจี แขวงบางยี่เรือ แขวงบุคคโล แขวงตลาดพลู แขวงดาวคะนอง แขวงสำเหร่ การคมนาคม สะพานพระราม 3 (ขวา) และสะพานกรุงเทพ (ซ้าย) วงเวียนใหญ่ ทางรถยนต์ ถนนสายหลักในพื้นที่เขตธนบุรี ได้แก่ ถนนอิสรภาพ เชื่อมถนนประชาธิปก (ทางแยกบ้านแขก) กับสะพานเจริญพาศน์ ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน เชื่อมระหว่างวงเวียนใหญ่กับสะพานข้ามคลองดาวคะนอง ถนนอรุณอมรินทร์ เชื่อมระหว่างถนนประชาธิปกกับสะพานอนุทินสวัสดิ์ ถนนมไหสวรรย์ เชื่อมถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน (ทางแยกมไหสวรรย์) กับสะพานกรุงเทพ ถนนรัชดาภิเษก เชื่อมถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน (ทางแยกมไหสวรรย์) กับสะพานตลาดพลู ถนนเจริญนคร เชื่อมระหว่างสะพานเจริญนคร 5 ถึงสะพานเจริญนคร 8 ถนนประชาธิปก เชื่อมระหว่างวงเวียนใหญ่กับเชิงสะพานสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ถนนวุฒากาศ เชื่อมถนนเทอดไท (ทางแยกวุฒากาศ) กับสะพานข้ามคลองวัดใหม่ยายนุ้ย ถนนเทอดไท เชื่อมถนนอินทรพิทักษ์ (ทางแยกบางยี่เรือ) กับสะพานข้ามคลองบางหลวงน้อย ถนนกรุงธนบุรี เชื่อมถนนสมเด็จพระเจ้าตากสินกับสะพานข้ามคลองบางไส้ไก่ ถนนราชพฤกษ์ เชื่อมถนนสมเด็จพระเจ้าตากสินกับสะพานข้ามคลองบางหลวงน้อย ถนนอินทรพิทักษ์ เชื่อมระหว่างวงเวียนใหญ่กับกับสะพานเนาวจำเนียร เขตธนบุรีมีสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา 3 แห่ง ได้แก่ สะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ เชื่อมระหว่างเขตธนบุรีกับเขตพระนคร สะพานพระราม 3 เชื่อมระหว่างเขตธนบุรีกับเขตบางคอแหลม สะพานกรุงเทพ เชื่อมระหว่างเขตธนบุรีกับเขตบางคอแหลม ทางรถไฟ ใช้เส้นทางรถไฟสายวงเวียนใหญ่-มหาชัย จากสถานีรถไฟมหาชัย จังหวัดสมุทรสาคร สถานีรถไฟวงเวียนใหญ่ สถานีรถไฟตลาดพลู ทางบีอาร์ที สถานีราชพฤกษ์ ทางรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน สถานีโพธิ์นิมิต สถานีตลาดพลู แม่น้ำและลำคลองสายสำคัญในพื้นที่เขต ได้แก่ แม่น้ำเจ้าพระยา คลองบางกอกใหญ่ (บางหลวง) คลองบางหลวงน้อย คลองบางน้ำชน คลองบางไส้ไก่ คลองบางสะแก คลองสำเหร่ ชุมชน ชุมชนกุฎีจีน ชุมชนของชาวไทยเชื้อสายโปรตุเกส ชุมชนบ้านลาว ชุมชนของชาวไทยเชื้อสายลาวที่มีชื่อเสียงในการทำขลุ่ย ชุมชนตากสินสัมพันธ์ สถานที่สำคัญ พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชที่วงเวียนใหญ่ วัดกัลยาณมิตร วัดกระจับพินิจ วัดกลางดาวคะนอง วัดดาวคะนอง วัดบางน้ำชน วัดบุคคโล วัดบุปผาราม วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร วัดวรามาตยภัณฑสาราราม (วัดขุนจันทร์) วัดอินทารามวรวิหาร (วัดบางยี่เรือนอก) วัดจันทารามวรวิหาร (วัดกลางตลาดพลูหรือวัดบางยี่เรือกลาง) วัดโพธินิมิตรสถิตมหาสีมาราม วัดราชคฤห์ (วัดมอญหรือวัดบางยี่เรือใน) วัดราชวรินทร์ (วัดสำเหร่) วัดใหญ่ศรีสุพรรณ วัดใหม่ยายนุ้ย วัดหิรัญรูจีวรวิหาร (วัดน้อย) วัดสันติธรรมาราม วัดสุทธาวาส (วัดใหม่ตาสุด) โบสถ์ซางตาครู้ส คริสตจักรที่ 1 สำเหร่ เป็นโบสถ์คริสต์ในนิกายเพรสไบทีเรียนแห่งแรกในประเทศไทย ก่อตั้งเมื่อ ค.ศ. 1849 มัสยิดต้นสน มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา โรงเรียนมัธยมสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา โรงเรียนประถมสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา โรงเรียนศึกษานารี โรงเรียนวัดอินทาราม โรงเรียนกุลมาฒน์ธนบุรี โรงเรียนธนบุรีวรเทพีพลารักษ์ สถานีรถไฟวงเวียนใหญ่ มีถนนรอบวงเวียนใหญ่ ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน และคลองบางไส้ไก่เป็นเส้นแบ่งเขต ทิศใต้ ติดต่อกับแขวงสำเหร่และแขวงบุคคโล มีถนนกรุงธนบุรีและถนนราชพฤกษ์เป็นเส้นแบ่งเขต ทิศตะวันตก ติดต่อกับแขวงตลาดพลู มีคลองบางน้ำชนเป็นเส้นแบ่งเขต สถานที่สำคัญ วงเวียนใหญ่ ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน สถานีรถไฟวงเวียนใหญ่ แยกบางยี่เรือ ถนนอินทรพิทักษ์ ถนนเทอดไท วัดราชคฤห์วรวิหาร (วัดบางยี่เรือเหนือ, วัดบางยี่เรือใน) วัดจันทารามวรวิหาร (วัดกลาง) วัดอินทารามวรวิหาร (วัดบางยี่เรือใต้, วัดใต้) สำนักงานเขตธนบุรี วัดเวฬุราชิณ ที่ทำการไปรษณีย์ตลาดพลู มัสยิดสวนพลู สถานีตำรวจนครบาลบางยี่เรือ สะพานเนาวจำเนียร บุคคโล เป็นแขวงหนึ่งในพื้นที่เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร แขวงบุคคโลตั้งอยู่ตอนกลางของเขตธนบุรี ทิศเหนือ ติดต่อกับแขวงตลาดพลูและแขวงบางยี่เรือ มีถนนราชพฤกษ์เป็นเส้นแบ่งเขต ทิศตะวันออก ติดต่อกับแขวงสำเหร่ มีถนนสมเด็จพระเจ้าตากสินเป็นเส้นแบ่งเขต ทิศใต้และทิศตะวันตก ติดต่อกับแขวงดาวคะนอง มีถนนรัชดาภิเษกเป็นเส้นแบ่งเขต ตลาดพลู เป็นแขวงหนึ่งในพื้นที่เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร แขวงตลาดพลูตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของเขตธนบุรี มีอาณาเขตติดต่อกับแขวงอื่นเรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้ ทิศเหนือ ติดต่อกับและแขวงวัดท่าพระ (เขตบางกอกใหญ่) มีคลองบางกอกใหญ่เป็นเส้นแบ่งเขต ทิศตะวันออก ติดต่อกับแขวงบางยี่เรือ (เขตธนบุรี) มีคลองบางน้ำชนเป็นเส้นแบ่งเขต ทิศใต้ ติดต่อกับแขวงบุคคโล แขวงดาวคะนอง (เขตธนบุรี) และแขวงบางค้อ (เขตจอมทอง) มีถนนราชพฤกษ์ คลองบางสะแก คลองแยกบางสะแก 13 และคลองวัดใหม่ยายนุ้ย 1 (คลองศาลเจ้าต้นโพธิ์) เป็นเส้นแบ่งเขต ทิศตะวันตก ติดต่อกับแขวงบางค้อ (เขตจอมทอง) และแขวงปากน้ำภาษีเจริญ (เขตภาษีเจริญ) มีคลองด่านเป็นเส้นแบ่งเขต ดาวคะนอง เป็นชื่อแขวงและย่านในเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร เดิมเป็นที่ตั้งของหมู่บ้านชาวมอญที่ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของวัดกลางดาวคนอง จึงมีการสันนิษฐานว่าคำว่า คะนอง มาจาก คะน็อง หรือ ฮน็อง ในภาษามอญ วัดกลาง เนื่องจากทางทิศใต้ของวัดติดต่อกับคลองบ้านกลาง ต่อมาวัดได้เพิ่มคำว่า "ดาวคนอง" ดาวคะนองยังได้รับการตั้งชื่อเป็นภาพยนตร์ เมื่อขับรถขึ้นไปทางด่วนมักจะเห็นป้ายดาวคะนองเสมอ จึงเปรียบดาวคะนองเป็นเหมือนทางผ่าน และอีกนัยยะหนึ่ง หมายถึงคน ซึ่งทุกคนก็เป็นดาวในตัวเอง โยคีเพลย์บอยก็แต่งเพลงชื่อ "ดาวคะนอง" ดาวคะนองยังอยู่ในสูตรท่องจำพยัญชนะไทย "ส เสือดาวคะนอง" จากข้อมูลการเปลี่ยนแปลงแขวงพื้นที่แขวงในเขตธนบุรี เมื่อ 7 พฤศจิกายน 2540 แขวงดาวคะนองตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเขตธนบุรี มีอาณาเขตติดต่อกับแขวงอื่นเรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้ ทิศเหนือ ติดต่อกับแขวงตลาดพลู แขวงบุคคโล และแขวงสำเหร่ (เขตธนบุรี) มีคลองบางสะแก ถนนราชพฤกษ์ ถนนรัชดาภิเษก และถนนมไหสวรรย์เป็นเส้นแบ่งเขต ทิศตะวันออก ติดต่อกับแขวงบางคอแหลม (เขตบางคอแหลม) มีแนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเส้นแบ่งเขต ทิศใต้ ติดต่อกับแขวงบางปะกอก (เขตราษฎร์บูรณะ) มีคลองดาวคะนองเป็นเส้นแบ่งเขต ทิศตะวันตก ติดต่อกับแขวงจอมทองและแขวงบางค้อ (เขตจอมทอง) มีคลองบางสะแกเป็นเส้นแบ่งเขต บิ๊กซี ดาวคะนอง ตลาดดาวคะนอง ท่าเรือดาวคะนอง ศาลเจ้าพ่อเหลาปิงเถ้ากง ศาลเจ้าแม่ทับทิม ดาวคะนอง มูลนิธิตงฮั้วการแพทย์ โรงเรียนมัธยมวัดดาวคนอง วัดกลางดาวคนอง วัดดาวคนอง การคมนาคม คลองดาวคะนอง ถนนรัชดาภิเษก ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน ถนนเจริญนคร ถนนมไหสวรรย์และแยกมไหสวรรย์ แยกบุคคโล สะพานกรุงเทพ สะพานพระราม 3 รถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีตลาดพลู รถโดยสารด่วนพิเศษ สายสาทร–ราชพฤกษ์ (บีอาร์ที) สถานีราชพฤกษ์