ติวสอบเข้าโรงเรียนทวีธาภิเศก  เรียนพิเศษ
 
คณิตศาสตร์      ฟิสิกส์       ภาษาอังกฤษ
แคลคูลัส
ความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์
O-Net    A-level    TGAT    TPAT    TPAT3    TCAS68
 

เปิดสอน   ระดับชั้นประถมศึกษา    มัธยมต้น    มัธยมปลาย
และระดับมหาวิทยาลัย


เพื่อการสอบเพิ่มเกรดประจำภาคเรียน
สอบเข้า ม.1     สอบเข้า ม.4
สอบ Admission     และสอบตรงเข้ามหาวิทยาลัย


"เน้นเรียนตัวต่อตัว    และกลุ่มย่อย 4 คน"

สำหรับนักเรียนที่มุ่งมั่นเข้าศึกษาต่อโรงเรียนทวีธาภิเศก
 

โรงเรียนทวีธาภิเศก (อังกฤษ: Taweethapisek School; อักษรย่อ : ท.ภ. / T.P.) เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ ประเภทชายล้วน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งอยู่เลขที่ 505/5 ซอยอิสรภาพ 42 ถนนอิสรภาพ แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร มีพื้นที่ 11 ไร่ อยู่ใกล้กับสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน สถานีอิสรภาพ โรงเรียนทวีธาภิเศกก่อตั้งโดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานเนื่องในวโรกาสที่ทรงครองราชสมบัตินานเป็นสองเท่าของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย(รัชกาลที่ 2) ซึ่งเป็นสมเด็จพระบรมอัยกาธิราช ประวัติ โรงเรียนทวีธาภิเศกเป็นโรงเรียนชายล้วนประจำจังหวัดธนบุรี(โรงเรียนหญิงล้วนประจำจังหวัดธนบุรีคือ โรงเรียนศึกษานารี) ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทาน เนื่องในวโรกาสที่ทรงครองราชสมบัตินานเป็นสองเท่าของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ซึ่งเป็นสมเด็จพระอัยกา โดยเมื่อปี พ.ศ. 2438 (ร.ศ. 114) ปีมะแม โรงเรียนวัดอรุณราชวรารามที่ได้เปิดทำการสอนอยู่แล้ว (ภายหลังได้มีการค้นคว้าและพบหลักฐานใหม่ว่าโรงเรียนวัดอรุณราชวราราม ได้เปิดทำการสอนครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2428) ณ ศาลาต้นจันทน์ ภายในวัดอรุณราชวราราม โดยมีพระครูธรรมรักขิต (สัมฤทธิ์ ลอยเพชร) เป็นครูใหญ่ ทำการสอนตั้งแต่ชั้น 1 ถึงชั้น 4 มีจำนวน 5 ห้องเรียนคือชั้น 1 ชั้น 2 ชั้น 3 ชั้น 4 ก และชั้น 4 ข มีนักเรียนทั้งสิ้น 162 คน ครู 6 คน ต่อมาได้เกิดไหม้บ้านชาวบ้านที่อยู่ใกล้วัดแล้วลุกลามมาถึงกุฏิภายในวัด เกือบไหม้พระอุโบสถ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงต้องเสด็จมาทรงบัญชาการดับไฟ เพราะทรงเกรงว่าไฟจะลุกลามไหม้ไปถึงพระอุโบสถ ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสรีรางคารของสมเด็จพระอัยกาธิราชเจ้าของพระองค์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้กระทรวงธรรมการ (ปัจจุบัน คือ กระทรวงศึกษาธิการ) ขยายตัวทางด้านการศึกษา จัดให้มีโรงเรียนมากขึ้น โดยเห็นว่ากระทรวงธรรมการ ได้จัดการเรียนการสอนบริเวณศาลาต้นจันทร์ วัดอรุณราชวรารามอยู่แล้ว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นปราบปรปักษ์เป็นแม่กองปฏิสังขรณ์พระอุโบสถวัดอรุณราชวราราม เมื่อปฏิสังขรณ์แล้วเสร็จ ประจวบกับเวลาที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงดำรงสิริราชสมบัติมาเป็นสองเท่าของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จึงทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทวีธาภิเษกเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2441 ในการบำเพ็ญพระราชกุศลทวีธาภิเศกนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริชักชวนพระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายใน ได้ทรงร่วมบริจาคทรัพย์บูชาธรรมเทศนาเพื่อการปฏิสังขรณ์และสถาปนาถาวรวัตถุในวัดแล้ว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้สร้างโรงเรียนตรงกุฏิสงฆ์ด้านทิศเหนือโรงเรียนวัดอรุณราชวรารามเดิมมาเป็นตึกใหญ่ และพระราชทานนามโรงเรียนว่า ทวีธาภิเศก โดยทรงมีพระราชปรารภในการสร้างโรงเรียนว่า "กุฎีแถวเหล่านี้ไม่มีประโยชน์แล้ว ทิ้งไว้ก็สำหรับจะทรุดโทรมไปเท่านั้น ควรแปลงให้เปนโรงเรียนสำหรับอารามนี้สักแห่งหนึ่ง" แต่ต่อมากรมหมื่นปราบปรปักษ์ได้สิ้นพระชนม์ก่อนที่อาคารจะเสร็จ จึงโปรดให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดารับเป็นแม่กอง และต่อมาได้โปรดเกล้าให้พระยาราชสงคราม (กร หงสกุล) เป็นแม่กอง จนการก่อสร้างสำเร็จในปี พ.ศ 2445 เฉพาะผู้บริจาคมีรายนามของพระบรมวงศานุวงศ์ที่ทรงบริจาคเงินร่วมในการนี้ มีพระนามร่วมบริจาคทั้งสิ้น 47 ราย รวมเป็นเงินจำนวน 33,484 บาท 30 อัฐ อาทิ สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เป็นเงิน 2,560 บาท (32 ชั่ง) สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า เป็นเงิน 2,560 บาท ในปี พ.ศ. 2445 เมื่อการก่อสร้างโรงเรียนเสร็จสมบูรณ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีพระบรมราชโองการให้จัดพิธีฉลองอาคารนี้รวม 2 วัน และได้เสด็จมาเป็นประธานในพิธีด้วยพระองค์เอง และในวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2445 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทอดผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวราราม และทรงเสด็จมาเยี่ยมโรงเรียนมีนักเรียนเข้าแถวรับเสด็จ 150 คน โดยมีพระครูธรรมรักขิต ครูใหญ่ท่านแรกอ่านคำโคลงยอพระเกียรติ เนื่องในโอกาสเพื่อเป็นที่ระลึกในวันสำคัญยิ่ง ได้มีการสร้างเหรียญที่ระลึกแจกพระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชการทั้งฝ่ายหน้าและฝ่ายในเป็นที่ระลึก ด้วยเหตุนี้ทางโรงเรียนทวีธาภิเศก จึงถือวันที่ 5 กันยายน ของทุกปีเป็น "วันทวีธาภิเศก" และใช้สัญลักษณ์ภาพเหมือนรูปเหรียญ ทวีธาภิเศก เป็นตราประจำโรงเรียน ในปี พ.ศ. 2494 นายวรสิทธิ์ อินทาปัจ ดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ ได้ย้ายโรงเรียนมาตั้ง ณ บริเวณวัดนาคกลางวรวิหาร ซึ่งเป็นที่ตั้งโรงเรียนในปัจจุบันนี้ โดยย้ายนักเรียนชั้นมัธยมปลายบางส่วนมาเรียน ในปีพ.ศ. 2503 เมื่อการก่อสร้างอาคารเรียนเสร็จสมบูรณ์ จึงได้ย้ายนักเรียนทั้งหมดมาเรียน ส่วนอาคารเรียนหลังเดิม ณ วัดอรุณราชวราราม กรมสามัญศึกษาได้ทำการเปิดสอนในระดับประถมศึกษาชื่อว่า โรงเรียนประถมทวีธาภิเศก ในปี พ.ศ. 2512 นายเรวัต ชื่นสำราญ เป็นอาจารย์ใหญ่ ได้งบประมาณสร้างตึก 4 ชั้น 18 ห้องเรียน เป็นเงินทั้งสิ้นสองล้านบาท ทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ โดย พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร (พระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา) เสด็จมาทรงเป็นประธานในพิธีและได้ประทานนามตึกนี้ว่า ตึกพิทยลาภพฤฒิธาดา ซึ่งก็คือ อาคาร 1 ของโรงเรียนและเปิดใช้มาจนปัจจุบัน ระบบการเรียน แบบห้องเรียนประจำ ชั้นม.ปลาย เรียนแบบเดินเรียนบางห้อง สถานที่สำคัญในโรงเรียน สนามฟุตบอล มุมมองจากอาคารพิทยลาภพฤฒิธาดา อาคารพิทยลาภพฤฒิธาดา ตั้งชื่อตามราชทินนามของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสณบัณฑิต กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา​ เป็นอาคารเรียนที่เก่าแก่ที่สุดในโรงเรียน สร้างขึ้นระหว่างปี พ.ศ. 2512-2515 โดยทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2515 ประกอบไปด้วย ห้องเรียน 14 ห้องเรียน ห้องเรียนชั้นม.1-2 ห้องกิจกรรมรักษาดินแดน ห้องลูกเสือ ห้องคอมพิวเตอร์ ห้องไร้พรมแดน ห้องพัสดุ ห้องคอมพิวเตอร์ ห้องรีซอต์ส เซ็นเตอร์ ร้านสวัสดิการร้านค้า และโรงอาหาร อาคารสุรชัยรณรงค์ ตั้งชื่อตามราชทินนามของขุนสุรชัยรณรงค์ ก่อสร้างระหว่างปี พ.ศ. 2518-2520 ประกอบไปด้วย ห้องฝ่ายบริหาร ห้องสมุดอาทร สังขะวัฒนะ คลินิกหมอภาษา ห้องแนะแนว ห้องเรียนสังคมศึกษา ห้องเรียนภาษาไทย ห้องคอมพิวเตอร์นวมินทรานุสรณ์ ห้องเรียน MEP ห้องเรียนชั้น ม.2-3 ศูนย์ปฏิบัติธรรมเทพสิทธินายก ห้องเรียน อาคารปราบปรปักษ์ ตั้งชื่อตามราชทินนามของพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าขจรจรัสวงษ์ กรมหมื่นปราบปรปักษ์ ​สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2521 ประกอบไปด้วย แผนกช่าง ห้องศิลปะ ห้องดนตรีไทย ห้องนาฏศิลป์ ห้องวงโยธวาทิต ห้องการงานอาชีพ และโรงยิมเนเซียม อาคารเทพสิทธินายก ตั้งชื่อตามราชทินนามของพระเทพสิทธินายก (เหรียง อินฺทสโร) สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2523-2525 ประกอบไปด้วย ห้องเพชรดอกแก้ว (ห้องโสตทัศนศึกษา) และห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ รวมไปถึงห้องเรียนพิเศษ SMTE ห้องเรียนพิเศษ MEP-Sci ห้องเรียนต้นแบบการประหยัดพลังงาน ห้องเรียนคณิตศาสตร์ และห้องเรียนการงานอาชีพ
 
.
อาคารหอประชุมพลเอก สุจินดา คราประยูร ตั้งชื่อตามชื่อของพลเอกสุจินดา คราประยูร​ สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2531 ประกอบไปด้วย ห้องฝ่ายบริหาร ห้องเรียนภาษาต่างประเทศ และหอประชุม พลเอก สุจินดา คราประยูร ที่อยู่ชั้นบนสุดของอาคาร อาคาร 100 ปี ทวีธาภิเศก โดย พลเอก สุจินดา คราประยูร ชั้นล่างเป็นธนาคารโรงเรียน พิพิธภัณฑ์โรงเรียนทวีธาภิเศก เปิดขึ้นในปี พ.ศ. 2535 เป็นอาคาร 4 ชั้น (พิพิธภัณฑ์อยู่ชั้น 2) ติดกับตึก 3 ตึกเอนกประสงค์ ภายในแสดงวัตถุประเภทครุภัณฑ์ประเภทต่าง ๆ และของใช้ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่พระราชทานให้แก่โรงเรียนตั้งแต่เริ่มต้น อาทิ นาฬิกาตั้งยอดพระเกี้ยว เป็นนาฬิกาที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานให้โรงเรียน ด้านบนประดิษฐานพระจุลมงกุฎจำหลักไม้ที่ประณีตงดงามมาก ตู้พระราชทาน และโต๊ะเก้าอี้พระราชทาน เป็นต้น
ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง ศิษย์เก่าเกียรติยศ ศ.(พิเศษ) สัญญา ธรรมศักดิ์ อดีตประธานองคมนตรี อดีตนายกรัฐมนตรี คนที่ 12 อดีตประธานศาลฎีกา อดีตรองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง และอดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พล.อ.สุจินดา คราประยูร อดีตนายกรัฐมนตรี คนที่ 19​ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม​ อดีตผู้บัญชาการทหารบก และอตีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส อดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ หัวหน้าพรรคเสรีรวมไทย​ และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร​ แบบบัญชีรายชื่อ พรรคเสรีรวมไทย อำนวย สุวรรณคีรี อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี​ และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคประชาธิปัตย์ จังหวัดสงขลา บุคคลสำคัญระดับประเทศ ก.ท.ภูมิธรรม เวชยชัย รักษาการนายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม และอดีตเลขาธิการพรรคเพื่อไทย พล.อ.มังกร พรหมโยธี อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม​ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย​ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ อดีตรองผู้บัญชาการทหารสูงสุด อดีตรองผู้บัญชาการทหารบก อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคเสรีมนังคศิลา จังหวัดพระนคร อดีตสมาชิกวุฒิสภา และอดีตนายกสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร.อ.อ.หลวงชำนาญนิติเกษตร (อุทัย แสงมณี) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม อดีตอธิบดีกรมที่ดิน​ และอดีตสมาชิกคณะราษฎร​ สายพลเรือน จอมพลอากาศ เฉลิมเกียรติ วัฒนางกูร อดีตผู้บัญชาการทหารอากาศ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร ประเภทที่ 2 อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตร พล.ร.อ.กวี สิงหะ​ อดีตผู้บัญชาการทหารเรือ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม อดีตสมาชิกวุฒิสภา​ และอดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ​ พล.อ.เรืองโรจน์ มหาศรานนท์​ อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด และอดีตรองหัวหน้าพรรคพลังประชาชน พล.อ.ไสว ไสวแสนยากร (เจ้าศรีไสว อุ่นคำ)​ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม​ อดีตผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย อดีตอธิบดีกรมตำรวจ อดีตผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก และอดีตแม่ทัพภาคที่ 2​ พระราชนัดดาในพระเจ้ามหินทรเทพนิภาธรแห่งหลวงพระบาง พล.อ.สุชาติ หนองบัว เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ​ และอดีตรองหัวหน้าฝ่ายกิจการพิเศษ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ​ ดร.ศุภชัย สมเจริญ อดีตรองประธานวุฒิสภา คนที่สอง​ และอดีตประธานกรรมการการเลือกตั้ง​ ศ.(เกียรติคุณ) เกษม จันทร์แก้ว องคมนตรี อดีตอธิบดีกรมป่าไม้​ และที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ และอดีตอาจารย์ประจำภาควิชาอนุรักษ์วิทยา คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นักการเมือง นักเคลื่อนไหว รังสิมันต์ โรม​ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร​ แบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน​ และอดีตแกนนำกลุ่มธรรมศาสตร์เสรีเพื่อประชาธิปไตย ผศ.ประแสง มงคลศิริ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคไทยรักไทย จังหวัดอุทัยธานี ณัฐชา บุญไชยอินสวัสดิ์​ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร​ พรรคประชาชน​ กรุงเทพมหานคร ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร​ แบบบัญชีรายชื่อ หัวหน้าพรรคประชาชน และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร​ พรรคก้าวไกล​ กรุงเทพมหานคร ถิรชัย วุฒิธรรม อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบสัดส่วน พรรคเพื่อแผ่นดิน และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร  เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ อดีตสมาชิกวุฒิสภา​ อดีตสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ​ กวีซีไรต์ปี 2523 และศิลปินแห่งชาติปี 2536 สาขาวรรณศิลป์ ชิน ฝ้ายเทศ (ชินกร ไกรลาศ) นักร้องลูกทุ่ง และศิลปินแห่งชาติปี 2542 สาขาศิลปะการแสดง นิวัติ กองเพียร นักเขียน นักวิจารณ์ศิลปะ ยอดชาย เมฆสุวรรณ ดารา นักแสดง ทัช ณ ตะกั่วทุ่ง ดารา นักร้อง ตวงสิทธิ์ เรียมจินดา นักร้อง นักแสดง สมาชิกวงเพื่อน ฐาปกรณ์ ดิษยนันทน์ ดารา นักแสดง พิธีกร และผู้บริหารบริษัทกันตนา ภุชงค์ โยธาพิทักษ์ ดารา นักแสดง พิธีกร ผศ.องอาจ สิงห์ลำพอง ผู้กำกับโฆษณา และภาพยนตร์ อดีตผู้บริหารช่องเจเคเอ็น 18 วิชัย จงประสิทธิพร ดารา นักแสดง อธิชาติ ชุมนานนท์ ดารา นักแสดง ภาสกร บุญวรเมธี ดารา นักแสดง ธีมะ กาญจนไพริน นักจัดรายการวิทยุ พิธีกร ผู้ประกาศข่าว นิธิดล ป้อมสุวรรณ ดารา นักแสดง สมพล ปิยะพงศ์สิริ นักร้อง นักแสดง พิธีกร สิตางศุ์ บัวทอง เน็ตไอดอล นรินทร์โชติ วชิรธรนิยมกุล นักแสดง ผู้กำกับ จิรัชยา ศิริมงคลนาวิน มิสทิฟฟานี่ยูนิเวิร์ส 2016 และมิสอินเตอร์เนชั่นแนลควีน 2017 จตุโชค วิริยะพงศ์ชัย สมาชิกวงบี-มิกซ์ ศักดิ์สุวรรณ วงศ์สุวรรณ ดารา นักแสดง ชัยรัตน์ พิพิธพัฒนาปราปต์ (ปราปต์) นักเขียน ด้านกีฬา ทองหล่อ ไตรรัตน์​ ผู้ฝึกสอนกีฬากระบี่กระบอง และผู้ฝึกสอนกีฬาฟันดาบสากล โอลิมปิกทีมชาติไทย รังสรรค์ วิวัฒน์ชัยโชค หัวหน้าผู้ฝึกสอนสโมสรฟุตบอลโปลิศ เทโร และอดีตนักฟุตบอลทีมชาติไทย พัทยา เปี่ยมคุ้ม อดีตนักฟุตซอลทีมชาติไทย และอดีตผู้ฝึกสอนฟุตซอลทีมชาติไทย นาชา ปั้นทอง นักกีฬาเทควันโดทีมชาติไทย อัจถพันธ์ ขันติวรบท นักกีฬาเทควันโดเยาวชนทีมชาติไทย โรงเรียนในเครือ โรงเรียนทวีธาภิเศก บางขุนเทียน โรงเรียนประถมทวีธาภิเศก โรงเรียนคู่พัฒนา โรงเรียนสวนอนันต์ โรงเรียนฤทธิณรงค์รอน
โรงเรียนกวดวิชาบ้านครูตี๋  สอนพิเศษตัวต่อตัว เรียนพิเศษตัวต่อตัว เรียนพิเศษกลุ่มย่อย สอนพิเศษกลุ่มย่อย วิชาคณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ ความถนัดทางวิศวกรรม รับรองผล เรียนเพิ่มเกรด ติวเพิ่มเกรด o net o-net onet ติวสอบเข้า ม.1 ติวสอบเข้า ม.4  onsite เรียนออนไซต์  กวดวิชา ติว ครูคณิต กวดวิชา ติว ครูเลข ครูวิทย์ ครูฟิสิกส์ ครูอังกฤษ กวดวิชา ติว  tutor วิทย์ ติวเตอร์ ดีวีดี วีดีโอ ออนไลน์ DVD VDO online เรียนออนไซต์ onsite อาจารย์คณิต อาจารย์เลข อาจารย์วิทย์ อาจารย์ฟิสิกส์ อาจารย์อังกฤษ onsite เรียนออนไซต์ เรียนพิเศษใกล้ฉัน  onsite เรียนออนไซต์  เรียนพิเศษเลขกับติวเตอร์คนไหนดี? เรียนพิเศษคณิตศาสตร์กับติวเตอร์คนไหนดี? เรียนพิเศษฟิสิกส์กับติวเตอร์คนไหนดี? เรียนพิเศษวิทย์กับติวเตอร์คนไหนดี? video วิทย์ เรียนพิเศษใกล้ฉัน เรียนพิเศษภาษาอังกฤษกับติวเตอร์คนไหนดี?  เรียนพิเศษที่ไหนดี? เรียนพิเศษคณิตศาสตร์ที่ไหนดี? เรียนพิเศษเลขที่ไหนดี? เรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ที่ไหนดี? เรียนพิเศษฟิสิกส์ที่ไหนดี? เรียนพิเศษภาษาอังกฤษที่ไหนดี? onsite เรียนออนไซต์ onsite เรียนออนไซต์ เรียนพิเศษวิทยาศาสตร์กับติวเตอร์คนไหนดี?  ติวเตอร์ tutor โรงเรียนกวดวิชา Quota โควตา TGAT TPAT Admission วิชาสามัญ GPAX GPA TPAT3 A-level คณิตศาสตร์ประยุกต์1 A-level คณิตศาสตร์ประยุกต์2  A-level วิทยาศาสตร์ประยุกต์ ติวเตอร์  A-level ฟิสิกส์ A-level ภาษาอังกฤษ  TGAT TPAT A-level Mathematics Physics Engineering Science TCAS dek66 dek67 dek68 TCAS66 TCAS67 TCAS68 pat1 pat2 pat3 gat ครูสอนพิเศษ อาจารย์สอนพิเศษ  ติวเตอร์ tutor  โรงเรียนกวดวิชา Quota โควตา TGAT TPAT Admission วิชาสามัญ GPAX GPA TPAT3 A-level คณิตศาสตร์ประยุกต์1 A-level คณิตศาสตร์ประยุกต์2  A-level วิทยาศาสตร์ประยุกต์  ติวสอบเข้าโรงเรียนทวีธาภิเศก  เรียนพิเศษเข้าโรงเรียนทวีธาภิเศก  สอนพิเศษเข้าโรงเรียนทวีธาภิเศก  กวดวิชาเข้าโรงเรียนทวีธาภิเศก  โรงเรียนกวดวิชาเข้าโรงเรียนทวีธาภิเศก   ติวเตอร์เข้าโรงเรียนทวีธาภิเศก   ติวเข้าโรงเรียนทวีธาภิเศก  แนวข้อสอบเข้า ม.1 โรงเรียนทวีธาภิเศก   แนวข้อสอบเข้า ม.4 โรงเรียนทวีธาภิเศก  เก็งข้อสอบเข้า ม.1 โรงเรียนทวีธาภิเศก    เก็งข้อสอบเข้า ม.4 โรงเรียนทวีธาภิเศก
Guaranteed Results.
รับรองผลทุกคอร์ส
นักเรียนที่เรียนจบหลักสูตรจากบ้านครูตี๋  กว่า  90%  มีผลการเรียนดีขึ้น
และสามารถสอบเข้าโรงเรียนรัฐบาล  และมหาวิทยาลัยชั้นนำของรัฐได้
จากศิษย์เก่าบ้านครูตี๋กว่า 3,000 คน   ตลอดระยะเวลา 25 ปี 
Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้