แขวงบางจากตั้งอยู่ทางตอนกลางค่อนไปทางทิศตะวันออกของเขตภาษีเจริญ มีอาณาเขตติดต่อกับแขวงข้างเคียงดังต่อไปนี้ ทิศเหนือ ติดต่อกับแขวงบางแวก มีแนวแบ่งเขตการปกครองระหว่างแขวงบางจากกับแขวงบางแวก แนวคลองสายหนึ่ง และแนวแบ่งเขตการปกครองระหว่างแขวงบางจากกับแขวงบางแวกเป็นเส้นแบ่งเขต ทิศตะวันออก ติดต่อกับแขวงคูหาสวรรค์ และ แขวงปากคลองภาษีเจริญ มีแนวแบ่งเขตการปกครองระหว่างแขวงบางจากกับแขวงคูหาสวรรค์และแขวงปากคลองภาษีเจริญและซอยเพชรเกษม 36 เป็นเส้นแบ่งเขต ทิศใต้ ติดต่อกับแขวงบางหว้า มีแนวเขตการปกครองระหว่างแขวงบางจากกับแขวงบางหว้าเป็นเส้นแบ่งเขต ทิศตะวันตก ติดต่อกับแขวงบางด้วน มีคลองโรงยาว คลองบางจาก และแนวเขตการปกครองระหว่างแขวงบางจากกับแขวงบางด้วนเป็นเส้นแบ่งเขต
การคมนาคม ถนน ถนนสายหลัก ถนนเพชรเกษม ตัดผ่านพื้นที่ทางใต้ของเขตภาษีเจริญ ตัดผ่านทางด้านทิศตะวันออกไปยังทิศใต้ เริ่มต้นเข้าสู่เขตภาษีเจริญจากคลองบางกอกใหญ่ แขวงปากคลองภาษีเจริญ ต่อเนื่องมาจากแขวงวัดท่าพระ เขตบางกอกใหญ่ และไปสิ้นสุดที่คลองพระยาราชมนตรี แขวงบางหว้า ก่อนจะตัดผ่านเข้าสู่แขวงบางแค เขตบางแค ต่อไป ถนนราชพฤกษ์ ถนนกัลปพฤกษ์ ถนนพุทธมณฑล สาย 1
ถนนสายรอง ถนนเทอดไท ถนนรัชมงคลประสาธน์ (เทอดไท / คลองภาษีเจริญ) ถนนศาลธนบุรี ถนนบางแวก ถนนราชมนตรี ซอยเพชรเกษม 48 / ซอยบางแวก 69 (วัดจันทร์ประดิษฐาราม) รถไฟฟ้า รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคลหรือสายสีน้ำเงิน รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (โครงการส่วนต่อขยาย ช่วงหัวลำโพง–บางแค) เป็นโครงการยกระดับตามแนวเกาะกลางถนนเพชรเกษม ต่อเนื่องมาจากเขตบางกอกใหญ่ ผ่านพื้นที่เขตภาษีเจริญ มุ่งหน้าไปทางทิศตะวันตกและเข้าสู่เขตบางแค มีสถานีที่อยู่ในพื้นที่เขตภาษีเจริญทั้งหมด 4 สถานี โดยเป็นสถานียกระดับทั้งหมด ได้แก่ สถานีบางไผ่ สถานีบางหว้า สถานีเพชรเกษม 48 และสถานีภาษีเจริญ ซึ่งในขณะนี้เปิดให้บริการแล้ว รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม ที่ตัดผ่านในเขตภาษีเจริญ เป็นโครงการส่วนต่อขยายวงเวียนใหญ่–บางหว้า โดยเริ่มต้นเข้าสู่พื้นที่เขตภาษีเจริญจากเขตธนบุรี เป็นโครงการยกระดับตามแนวถนนราชพฤกษ์ สำหรับรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลมนั้น มีสถานีอยู่ในเขตภาษีเจริญ 1 สถานีและเป็นสถานีปลายทาง คือ สถานีบางหว้า สถานที่สำคัญ วัดและศาลเจ้าวัดปากน้ำภาษีเจริญ วัดอัปสรสวรรค์ วัดนางชีวรวิหาร วัดนวลนรดิศวรวิหาร ศาลขุนด่านเจ้าพ่อเสือ บางหว้า วัดนิมมานรดี วัดทองศาลางาม วัดคูหาสวรรค์ วัดจันทร์ประดิษฐาราม วัดอ่างแก้ว วัดโคนอน ภาษีเจริญ วัดธรรมมาสน์นักบุญเปโตร วัดตะล่อม วัดกำแพง วัดไชยฉิมพลี วัดมะพร้าวเตี้ย วัดโบสถ์อินทรสารเพชร วัดยางบางจาก วัดกำแพงบางจาก วัดวิจิตรการนิมิตร วัดโตนด วัดตะโน วัดนก วัดบางแวก วัดเพลง ภาษีเจริญ วัดจันทร์ประดิษฐาราม วัดรางบัว วัดปากน้ำฝั่งใต้ วัดนาคปรก ศาลเจ้ารางบัว (ศาลเจ้าพ่อกวนอู) ศาลเจ้าปึงเถ่ากง สมาคมมิตรภาพบางแค โรงพยาบาลและสถานสงเคราะห์สถานสงเคราะห์คนชราบ้านบางแค โรงพยาบาลพญาไท 3 โรงพยาบาลบางไผ่ โรงพยาบาลภาษีเจริญ โรงพยาบาลเพชรเกษม 2 ตลาดตลาดน้ำวัดนิมมานรดี ระดับอนุบาล–ประถมศึกษา โรงเรียนวัดนิมมานรดี โรงเรียนวัดอ่างแก้ว โรงเรียนวัดโคนอน โรงเรียนวัดตะล่อม โรงเรียนประดู่ (พ่วงอุทิศ) โรงเรียนวัดทองศาลางาม โรงเรียนวัดกำแพง โรงเรียนวัดมะพร้าวเตี้ย โรงเรียนบางจาก โรงเรียนวัดโตนด โรงเรียนสุจิณณ์วดี โรงเรียนชาญกิจวิทยา (เปลี่ยนเป็นโรงเรียนอนุบาลชาญกิจวิทยาเมื่อปีการศึกษา 2555 และปิดการเรียนการสอนทั้งหมดทุกระดับปีการศึกษา 2556) โรงเรียนสุภาคมศึกษา โรงเรียนเผดิมศึกษา โรงเรียนดำรงเรืองวิทย์ โรงเรียนอนุบาลดารวี โรงเรียนอนุบาลบ้านสวน โรงเรียนเปี่ยมสุวรรณวิทยา ระดับอนุบาล–มัธยมศึกษา โรงเรียนผดุงกิจวิทยา (ไม่มีมัธยมศึกษาตอนปลาย) โรงเรียนวัดจันทร์ประดิษฐาราม (ไม่มีมัธยมศึกษาตอนปลาย) โรงเรียนฐานปัญญา โรงเรียนเซนต์ปีเตอร์ ธนบุรี ระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนสตรีวัดอัปสรสวรรค์ โรงเรียนวัดนวลนรดิศ โรงเรียนจันทร์ประดิษฐารามวิทยาคม โรงเรียนไชยฉิมพลีวิทยาคม โรงเรียนวัดรางบัว โรงเรียนสตรีวัดอัปสรสวรรค์ (Satri Wat Absornsawan School) ตั้งอยู่ที่ 250 ถนนรัชมงคลประสาธน์ แขวงปากคลอง เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร 10160 มีเนื้อที่ 4 ไร่ 1 งาน 28 ตารางวา เป็นโรงเรียนหญิงล้วนขนาดใหญ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 ประวัติ แต่เดิมพื้นที่บริเวณโรงเรียนส่วนใหญ่เป็นสวน ถนนหนทางยังไม่สะดวกมากนัก โรงเรียนที่เปิดสอนใกล้เคียงก็เป็นโรงเรียนที่เปิดสอนภาคบังคับ (ป.1- ป.4) หากจะเรียนในระดับชั้นที่สูงขึ้นไปจะต้องเดินทางออกไป ทำให้ไม่สะดวก คุณยายจีบ ปานขำ คบหบดีผู้มั่งคั่งในย่านนั้นจึงดำริกับลูกๆ ว่าอยากสร้างโรงเรียนสำหรับกุลสตรี เพื่อให้เด็กผู้หญิงละแวกนี้ได้เรียนต่อในระดับชั้นมัธยมศึกษา แต่ยังมิทันสร้างก็ถึงแก่กรรมเสียก่อน บรรดาลูกๆ ของคุณยายจึงนำเงินจากกองมรดกมาสร้างอาคารเรียนหลังแรกและให้คุณตาทองคำ ปานขำ ลูกชายคนสุดท้องเป็นผู้ดำเนินการ โดยได้รับความอนุเคราะห์จากพระพุทธพยากรณ์ (เจริญ อุปติสฺโส) เจ้าอาวาสวัดอัปสรสวรรค์ในขณะนั้นมอบที่ดินให้สร้างอาคารเรียนและเริ่มเปิดเรียนเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2483 นับเป็นโรงเรียนกุลสตรีแห่งแรกใน เขตภาษีเจริญ โรงเรียนวัดนวลนรดิศ (Wat Nuannoradit School) อักษรย่อ (น.ด.) เป็น โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ ปัจจุบันเป็นประเภทสหศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งอยู่บริเวณวัดนวลนรดิศ เลขที่ 137 ซอยเพชรเกษม 19 แขวงปากคลองภาษีเจริญ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร 10160 ประวัติโรงเรียน โรงเรียนวัดนวลนรดิศ เริ่มเปิดสอน เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2433 เดิมเป็นโรงเรียนชายล้วนมีนักเรียน 9 คน พระเดชพระคุณพระสาสนานุรักษ์ (ทิม รตนโชโต) อดีตเจ้าอาวาสวัดนวลนรดิศเป็นผู้สอนและมีครูช่วยสอนอีก 2 คน คือครูหวาด และครูแก้ว ศาลิคุปต์ ใช้ศาลาการเปรียญและกุฏิวัดนวลนรดิศเป็นที่เรียน โรงเรียนจันทร์ประดิษฐารามวิทยาคม (Chanpradittharam Wittayakom School) (อักษรย่อ : จ.ป.ว. (J.P.V.) เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาแบบสหศึกษาและเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งอยู่ที่ ซอยเพชรเกษม 48 แขวงบางด้วน เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร 10160 ประวัติโรงเรียน โรงเรียนจันทร์ประดิษฐารามวิทยาคมก่อตั้งโดยดำริของคณะกรรมการจัดงานทำบุญอายุ โรงเรียนวัดรางบัว ครบ 50 ปี เมื่อวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2457 ในขณะนั้น โรงเรียนวัดรางบัว มีนักเรียนเป็นจำนวนมาก ทำให้สถานที่เรียนแออัด คับแคบ ไม่สะดวก คณะกรรมการวัดรางบัว จึงเสนอกันว่าต้องหาสถานที่ก่อตั้งโรงเรียนแห่งใหม่ แยกเป็นโรงเรียนสตรี ในที่สุดก็ได้สถานที่ในบริเวณวัดจันปะขาว ซึ่งอยู่ใกล้โรงเรียน คณะกรรมการวัดรางบัวติดต่อขออนุญาต พระอธิการ สมทรง เจ้าอาวาสวัดจันปะขาวขณะนั้นและเสนอเรื่องขอจัดตั้งโรงเรียนไปยัง กระทรวงศึกษาธิการ ต่อมา กระทรวงศึกษาธิการ ได้เช่าที่ดินของวัดจันปะขาวซึ่งมีเนื้อที่ 19 ไร่ 2 งาน 50 ตารางวา เป็นสถานที่ตั้งโรงเรียนมัธยมศึกษาเฉพาะสตรีให้ชื่อว่า "โรงเรียนสตรีวัดจันปะขาว" ใช้อักษรย่อ "ส.จ." ตามประกาศตั้ง โรงเรียนรัฐบาลของ กระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2499