ดอกไม้ หมายถึง ความเป็นธรรมชาติ และความร่มรื่น สีเขียว หมายถึง สิ่งแวดล้อมที่ดี ปราศจากมลพิษ สีส้ม หมายถึงเป็นสีประจำสำนักงานเขตสะพานสูง การคมนาคม ในพื้นที่เขตสะพานสูงมีทางสายหลัก ได้แก่ ถนนกาญจนาภิเษก ถนนรามคำแหง (สุขาภิบาล 3) รถไฟฟ้าสายสีส้ม (กำลังก่อสร้าง) ส่วนทางสายรองและทางลัด ได้แก่ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3901 (คู่ขนานกาญจนาภิเษกด้านนอก) ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3902 (คู่ขนานกาญจนาภิเษกด้านใน) ถนนราษฎร์พัฒนา ถนนเคหะร่มเกล้า ถนนกรุงเทพกรีฑา ถนนนักกีฬาแหลมทอง ถนนศรีนครินทร์-ร่มเกล้า (ช่วงถนนกาญจนาภิเษกถึงคลองแม่จันทร์) ซอย 01 กาญจนาภิเษก 25 (พยุงทอง) ซอยรามคำแหง 118 (พฤกษชาติ) และซอยรามคำแหง 118 แยก 33 ซอยราษฎร์พัฒนา 35 ซอยกรุงเทพกรีฑา 20 (กรุงเทพกรีฑา ซี 4) ซอยกรุงเทพกรีฑา 37 (กรุงเทพกรีฑา บี 5) ซอยนักกีฬาแหลมทอง 38 (ซอย 18) และซอยนักกีฬาแหลมทอง 40 (ซอย 19 ก) สถานที่สำคัญ วัดลาดบัวขาว มัสยิดอัลยุซรอ (หลอแหล) มัสยิดนูรุ้ลเอี๊ยะห์ซาน (ทับช้างบน) หอศิลป์ช่วง มูลพินิจ โรงเรียนสุเหร่าทับช้างคลองบน สะพานสูง เป็นแขวงหนึ่งของเขตสะพานสูง กรุงเทพมหานคร ที่ตั้งและอาณาเขต แขวงสะพานสูงตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเขตสะพานสูง มีอาณาเขตติดต่อกับแขวงข้างเคียงเรียงตามเข็มนาฬิกาดังนี้ ทิศเหนือ ติตต่อกับแขวงคลองกุ่ม (เขตบึงกุ่ม) และแขวงรามอินทรา (เขตคันนายาว) มีคลองแสนแสบเป็นเส้นแบ่งเขต ทิศตะวันออก ติดต่อกับแขวงราษฎร์พัฒนา (เขตสะพานสูง) มีถนนกาญจนาภิเษกฟากตะวันออกเป็นเส้นแบ่งเขต ทิศใต้ ติดต่อกับแขวงทับช้าง (เขตสะพานสูง) มีคลองทับช้างล่างและคลองวังใหญ่บนเป็นเส้นแบ่งเขต ทิศตะวันตก ติดต่อกับแขวงหัวหมาก (เขตบางกะปิ) มีคลองบ้านม้า 2 เป็นเส้นแบ่งเขต การคมนาคม ถนนสายหลักในพื้นที่แขวงสะพานสูง ได้แก่ ถนนกาญจนาภิเษก ถนนรามคำแหง ถนนสายรองและทางลัดในพื้นที่แขวงสะพานสูง ได้แก่ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3901 (คู่ขนานกาญจนาภิเษกด้านนอก) ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3902 (คู่ขนานกาญจนาภิเษกด้านใน) ซอยรามคำแหง 118 (พฤกษชาติ) และซอยรามคำแหง 118 แยก 33 ราษฎร์พัฒนา เป็นแขวงแขวงหนึ่งในเขตสะพานสูง กรุงเทพมหานคร เป็น 1 ใน 13 แขวงที่ตั้งขึ้นใหม่ล่าสุดตามประกาศการเปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงของกรุงเทพมหานครเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2560[3] สภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นเขตที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย บางแห่งเป็นพื้นที่เกษตรกรรม ประวัติ แขวงราษฎร์พัฒนาเดิมเป็นส่วนหนึ่งของแขวงสะพานสูง เขตบางกะปิ ต่อมาในวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2532 กระทรวงมหาดไทยได้จัดตั้งเขตบึงกุ่มแยกจากเขตบางกะปิ โดยกำหนดให้แขวงสะพานสูงอยู่ในท้องที่การปกครองของเขตนี้ด้วย จากนั้นเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 กระทรวงมหาดไทยได้เปลี่ยนแปลงเขตการปกครองในบริเวณนี้อีกครั้ง โดยโอนแขวงสะพานสูงมาขึ้นกับเขตสะพานสูงที่จัดตั้งขึ้นใหม่ จนกระทั่งในวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 กรุงเทพมหานครได้แยกท้องที่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของแขวงสะพานสูงออกมาจัดตั้งเป็น แขวงราษฎร์พัฒนา โดยนำชื่อถนนราษฎร์พัฒนาที่ตัดผ่านพื้นที่มาใช้เป็นชื่อแขวง ที่ตั้งและอาณาเขต แขวงราษฎร์พัฒนาตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเขตสะพานสูง มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังนี้ ทิศเหนือ ติตต่อกับแขวงคันนายาว (เขตคันนายาว) และแขวงมีนบุรี (เขตมีนบุรี) มีคลองแสนแสบเป็นเส้นแบ่งเขต ทิศตะวันออก ติดต่อกับแขวงมีนบุรี (เขตมีนบุรี) และแขวงคลองสองต้นนุ่น (เขตลาดกระบัง) มีคลองลาดบัวขาวเป็นเส้นแบ่งเขต ทิศใต้ ติดต่อกับแขวงทับช้าง (เขตสะพานสูง) มีคลองทับช้างล่างเป็นเส้นแบ่งเขต ทิศตะวันตก ติดต่อกับแขวงสะพานสูง (เขตสะพานสูง) มีถนนกาญจนาภิเษกฟากตะวันออกเป็นเส้นแบ่งเขต การคมนาคม ถนนสายหลักในพื้นที่แขวงราษฎร์พัฒนา ได้แก่ ถนนรามคำแหง ถนนสายรองและทางลัดในพื้นที่แขวงราษฎร์พัฒนา ได้แก่ ถนนราษฎร์พัฒนา ถนนเคหะร่มเกล้า ซอยราษฎร์พัฒนา 35 ทับช้าง เป็นแขวงแขวงหนึ่งในเขตสะพานสูง กรุงเทพมหานคร เป็น 1 ใน 13 แขวงที่ตั้งขึ้นใหม่ล่าสุดตามประกาศการเปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงของกรุงเทพมหานครเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 สภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นเขตที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อยผสมผสานพื้นที่เกษตรกรรม ประวัติ แขวงทับช้างในอดีตเป็นท้องที่ตอนเหนือของแขวงประเวศ เขตพระโขนง ต่อมาในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532 กระทรวงมหาดไทยได้จัดตั้งเขตประเวศแยกจากเขตพระโขนง โดยโอนแขวงประเวศมาขึ้นกับเขตนี้ด้วย จากนั้นเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 กระทรวงมหาดไทยได้เปลี่ยนแปลงเขตการปกครองในบริเวณนี้อีกครั้ง โดยตัดท้องที่แขวงประเวศส่วนที่อยู่ทางทิศเหนือของถนนมอเตอร์เวย์มาขึ้นกับเขตสะพานสูงที่จัดตั้งขึ้นใหม่ และกรุงเทพมหานครได้ผนวกแขวงประเวศส่วนนี้เข้าเป็นส่วนหนึ่งของแขวงสะพานสูงไปพร้อมกันเพื่อความชัดเจนด้านการปกครอง จนกระทั่งในวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 กรุงเทพมหานครได้แยกท้องที่ตอนใต้ของแขวงสะพานสูง (ซึ่งเดิมเป็นแขวงประเวศ) ออกมาจัดตั้งเป็น แขวงทับช้าง ที่ตั้งและอาณาเขต แขวงทับช้างตั้งอยู่ทางตอนใต้ของเขตสะพานสูง มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังนี้ ทิศเหนือ ติตต่อกับแขวงสะพานสูง แขวงราษฎร์พัฒนา (เขตสะพานสูง) และแขวงคลองสองต้นนุ่น (เขตลาดกระบัง) มีคลองวังใหญ่บน คลองทับช้างล่าง คลองลาดบัวขาว และคลองลำอ้อตัน (ลำบึงขวาง) เป็นเส้นแบ่งเขต ทิศตะวันออก ติดต่อกับแขวงคลองสองต้นนุ่น (เขตลาดกระบัง) มีคลองแม่จันทร์เป็นเส้นแบ่งเขต ทิศใต้ ติดต่อกับแขวงประเวศ (เขตประเวศ) และแขวงพัฒนาการ (เขตสวนหลวง) มีทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3701 (ถนนคู่ขนานมอเตอร์เวย์ด้านซ้าย) และคลองบึงบ้านม้าเป็นเส้นแบ่งเขต ทิศตะวันตก ติดต่อกับแขวงหัวหมาก (เขตบางกะปิ) มีคลองบึงบ้านม้าเป็นเส้นแบ่งเขต การคมนาคม ถนนสายหลักในพื้นที่แขวงทับช้าง ได้แก่ ถนนกาญจนาภิเษก ถนนสายรองและทางลัดในพื้นที่แขวงทับช้าง ได้แก่ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3901 (คู่ขนานกาญจนาภิเษกด้านนอก) ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3902 (คู่ขนานกาญจนาภิเษกด้านใน) ถนนกรุงเทพกรีฑา ถนนนักกีฬาแหลมทอง ถนนศรีนครินทร์-ร่มเกล้า (ช่วงถนนกาญจนาภิเษก-คลองแม่จันทร์) ซอย 01 กาญจนาภิเษก 25 (พยุงทอง) ซอยกรุงเทพกรีฑา 20 (กรุงเทพกรีฑา ซี 4) ซอยกรุงเทพกรีฑา 37 (กรุงเทพกรีฑา บี 5) ซอยนักกีฬาแหลมทอง 38 (ซอย 18) และซอยนักกีฬาแหลมทอง 40 (ซอย 19 ก) โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ เตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า โรงเรียนเกษตรทฤษฎีใหม่ โรงพยาบาลการุณเวช (เกษมราษฎร์ สุขาภิบาล 3 เดิม) สมาคมพิทักษ์สัตว์ (ไทย) โรงเรียนศรีพฤฒา ถนนศรีนครินทร์-ร่มเกล้า เป็นถนนตัดใหม่ในพื้นที่กรุงเทพมหานครฝั่งตะวันออก ในพื้นที่เขตบางกะปิ, เขตสะพานสูง และเขตลาดกระบัง โดยบางส่วนได้มีการนำแนวถนนกรุงเทพกรีฑาเดิมมาปรับปรุงและตัดถนนในแนวใหม่ขึ้นมา จากถนนหัวหมาก (ซอยรามคำแหง 24) ไปบรรจบถนนเจ้าคุณทหาร ระยะทางประมาณ 11.2 กิโลเมตร ทำให้สามารถเดินทางจากถนนศรีนครินทร์ไปยังถนนร่มเกล้าได้โดยไม่ต้องผ่านทางแยกสัญญาณไฟจราจร (ไม่ติดไฟแดง) แม้แต่แห่งเดียว พื้นที่ที่ถนนตัดผ่าน เขตบางกะปิ, เขตสะพานสูง และเขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร