หน่วยงานประเภทอื่น ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย สถานีวิทยุกระจายเสียงมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ศาสนสถาน วัดกุนนทีรุทธาราม (วัดห้วยขวาง) วัดพุทธ ฝ่ายเถรวาท มหานิกาย วัดพรหมวงศาราม (วัดหลวงพ่อเณร) วัดพุทธ ฝ่ายเถรวาท มหานิกาย วัดเล่งจิ๋วเจงเสี่ย (วัดจีน) วัดพุทธ ฝ่ายมหายาน วัดแม่พระฟาติมา วัดคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิก มัสยิดมูฮายีรีน มัสยิดดารุ้ลมู่ฮาญีรีน วัดตะพาน (วัดพุทธ) ศูนย์การค้า ฟอร์จูนทาวน์ & โลตัส (ห้างสรรพสินค้า) ฟอร์จูนทาวน์ บิ๊กซี เอ็กซ์ตร้า รัชดาภิเษก เดอะ สตรีท รัชดา เอสพลานาด รัชดาภิเษก สถานศึกษา ระดับอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจักรพงษภูวนารถ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย โรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้ากุนนที โรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี โรงเรียนพิบูลประชาสรรค์ การอาชีวศึกษา วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคนิควิทยา วิทยาลัยอาชีวศึกษาพณิชยการจำนงค์และวิทยาลัยเทคโนโลยีบริหารธุรกิจจำนงค์ โรงเรียนสังกัดสำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร โรงเรียนสามเสนนอก (ประชาราษฎร์อนุกูล) โรงเรียนวิชูทิศ โรงเรียนวิชากร โรงเรียนสังกัดสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน โรงเรียนปัญจทรัพย์ โรงเรียนพร้อมพรรณวิทยา โรงเรียนอำนวยพิทยา โรงเรียนแม่พระฟาติมา โรงเรียนกอบวิทยา โรงเรียนจันทรวิชา โรงเรียนจำนงค์พิทยา โรงเรียนจำนงค์วิทยา โรงเรียนนิธิปริญญา โรงเรียนประไพพัฒน์ โรงเรียนสามัคคีบำรุงวิทยา โรงเรียนอนุบาลเอกลักษณ์ โรงเรียนอนุบาลชินณพงศ์ โรงเรียนอนุบาลปานตา โรงเรียนอนุบาลสมใจ โรงเรียนอนุบาลสัตย์สงวนอนุสรณ์ โรงเรียนอนุบาลลีนา โรงเรียนอนุบาลรังสีวิทย์ ดินแดง เป็นแขวงหนึ่งในเขตดินแดง กรุงเทพมหานคร ที่ตั้งและอาณาเขต แขวงดินแดงตั้งอยู่ทางตอนใต้ของเขตดินแดง มีอาณาเขตติดต่อกับแขวงต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกาดังนี้ ทิศเหนือ ติดต่อกับแขวงรัชดาภิเษก (เขตดินแดง) มีถนนมิตรไมตรี ถนนประชาสงเคราะห์ และถนนประชาราษฎร์บำเพ็ญเป็นเส้นแบ่งเขต ทิศตะวันออก ติดต่อกับแขวงห้วยขวาง (เขตห้วยขวาง) มีถนนรัชดาภิเษกและถนนอโศก-ดินแดงเป็นเส้นแบ่งเขต ทิศใต้ ติดต่อกับแขวงมักกะสัน (เขตราชเทวี) มีคลองสามเสนเป็นเส้นแบ่งเขต ทิศตะวันตก ติดต่อกับแขวงสามเสนใน (เขตพญาไท) มีถนนดินแดงฟากใต้และถนนวิภาวดีรังสิตฟากตะวันออกเป็นเส้นแบ่งเขต รัชดาภิเษก เป็นแขวงหนึ่งในเขตดินแดง กรุงเทพมหานคร เป็น 1 ใน 13 แขวงที่ตั้งขึ้นใหม่ล่าสุดตามประกาศการเปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงของกรุงเทพมหานครเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2560[3] ตั้งชื่อตามถนนในพื้นที่ ที่ตั้งและอาณาเขต แขวงรัชดาภิเษกตั้งอยู่ทางตอนเหนือของเขตดินแดง มีอาณาเขตติดต่อกับแขวงต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกาดังนี้ ทิศเหนือ ติดต่อกับแขวงจอมพล (เขตจตุจักร) มีคลองบางซื่อ คลองพระยาเวิก และคลองน้ำแก้วเป็นเส้นแบ่งเขต ทิศตะวันออก ติดต่อกับแขวงสามเสนนอกและแขวงห้วยขวาง (เขตห้วยขวาง) มีถนนรัชดาภิเษกเป็นเส้นแบ่งเขต ทิศใต้ ติดต่อกับแขวงดินแดง (เขตดินแดง) มีถนนประชาราษฎร์บำเพ็ญ ถนนประชาสงเคราะห์ และถนนมิตรไมตรีเป็นเส้นแบ่งเขต ทิศตะวันตก ติดต่อกับแขวงสามเสนใน (เขตพญาไท) มีถนนวิภาวดีรังสิตฟากตะวันออกเป็นเส้นแบ่งเขต โรงเรียนกวดวิชาเขตดินแดง สอนพิเศษคณิตศาสตร์เขตดินแดง สอนพิเศษวิทยาศาสตร์เขตดินแดง สอนพิเศษภาษาอังกฤษเขตดินแดง สอนพิเศษฟิสิกส์เขตดินแดง เรียนพิเศษคณิตศาสตร์ดินแดง เรียนพิเศษวิทยาศาสตร์เขตดินแดง เรียนพิเศษภาษาอังกฤษเขตดินแดง เรียนพิเศษฟิสิกส์เขตดินแดง ถนนอโศก-ดินแดง (อักษรโรมัน: Thanon Asok – Din Daeng) เป็นถนนสายสั้น ๆ ในพื้นที่เขตราชเทวีและเขตดินแดง กรุงเทพมหานคร ซึ่งส่วนหนึ่งของถนนเส้นนี้เป็นของวงแหวนรัชดาภิเษก เริ่มจากแยกอโศก-เพชรบุรี จุดตัดกับถนนเพชรบุรี ต่อจากถนนอโศกมนตรี ตัดกับถนนรัชดาภิเษกและถนนพระราม 9 ที่แยกพระราม 9 แล้วเลี้ยวซ้ายไปสิ้นสุดที่ทางแยกประชาสงเคราะห์ (โบสถ์แม่พระ) จุดตัดกับประชาสงเคราะห์ โดยมีแนวถนนที่ตรงต่อเนื่องต่อไปคือถนนดินแดง และเป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงเอเชียสาย 123 ต่อเนื่องจากถนนราชวิถี และถนนดินแดง ตามลำดับจนถึงถนนพระราม 9 จากประวัติของโบสถ์แม่พระฟาติมา ถนนอโศก-ดินแดง สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2515 โรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี เป็นโรงเรียนของรัฐเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษประเภทสหศึกษาในกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย เดิมคือ “โรงเรียนบุตรข้าราชการกองทัพบก” ระดมทุนเพื่อก่อตั้งตั้งแต่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2492 เพื่อจัดการศึกษาให้บุตรหลานของข้าราชการกองทัพบก เริ่มก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. 2509 และได้เริ่มเปิดการเรียนการสอนใน พ.ศ. 2511 ในปี พ.ศ. 2555 ได้มีการเปิดสอน ห้องเรียนพิเศษ Gifted Education Programs (GEP.) สำหรับ ม.ต้น และ Intensive English Program (IEP.) สำหรับ ม.ปลาย โดยมีหลักสูตรที่เพิ่มภาษาอังกฤษมากขึ้นเป็นพิเศษ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจักรพงษภูวนารถ นั้นตั้งอยู่ในบริเวณเดียวกับโรงเรียน และมีต้นกำเนิดเดียวกัน โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้ากุนนที เดิมชื่อ โรงเรียนกุนนทีรุทธารามวิทยาคม เป็นโรงเรียนสหศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ โดยมี นางสาววิลาวัลย์ อันมาก ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน โรงเรียนมีข้าราชการครูทั้งสิ้น 56 คน ชาย 19 คน หญิง 37 คน มีนักเรียนประมาณ 836 คนต่อปีการศึกษา จำนวน 32 ห้องเรียน ประวัติ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้ากุนนที เดิมชื่อ โรงเรียนกุนนทีรุทธารามวิทยาคม เริ่มเปิดทำการสอนเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2501 เดิมเป็นโรงเรียนประชาบาล เปิดทำการสอนชั้น ม.ศ.1 ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่วัดกุนนทีรุทธาราม เขตดินแดง ตามคำสั่งกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2501 โรงเรียนได้รับโอนที่ดิน จำนวน 1 ไร่ 38 ตารางวา และอาคารไม้ 1 หลัง 2 ชั้น 4 ห้องเรียน โดยมีนายมนูญ เสียงพิบูลย์ เป็นผู้รักษาการแทนครูใหญ่ พ.ศ. 2519 พระครูโอภาสธรรมโสภณ เจ้าอาวาสวัดกุนนทีฯและคณะกรรมการวัด ได้บริจาคที่ดินทางด้านทิศตะวันออกของวัดแก่กรมสามัญศึกษา จำนวน 7 ไร่ 3 งาน 85.25 ตารางวา เพื่อสร้างเป็นโรงเรียนกุนนทีรุทธารามวิทยาคม พ.ศ. 2565 วันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 เปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้ากุนนที ถนนสุทธิสารวินิจฉัย หรือนิยมเรียกกันสั้น ๆ ว่า ถนนสุทธิสาร เป็นถนนที่ตั้งชื่อตามราชทินนามของเจ้าของที่ดินช่วงต้นถนน คือ พระสุทธิสารวินิจฉัย (มะลิ บุนนาค) ซึ่งทายาทและผู้อนุบาลของพระสุทธิสารวินิจฉัยได้ยกที่ดินให้ราชการตัดถนน เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่พระสุทธิสารวินิจฉัย ถนนสายนี้มีจุดเริ่มต้นตั้งแต่ถนนพหลโยธินช่วงใกล้ทางแยกสะพานควายฟากทิศตะวันออก ตัดผ่านถนนวิภาวดีรังสิตที่ทางแยกสุทธิสารบริเวณหน้าสถานีดับเพลิงและกู้ภัยสุทธิสาร ตัดผ่านถนนรัชดาภิเษกที่ทางแยกรัชดา-สุทธิสาร และสิ้นสุดที่สะพานข้ามคลองลาดพร้าว โดยบรรจบกับซอยลาดพร้าว 64 แยก 4 (ซอยเกตุนุติ) รวมระยะทางทั้งสิ้น 4.5 กิโลเมตร ส่วนซอยต่าง ๆ ที่แยกจากถนนสุทธิสารวินิจฉัยในระยะ 500 เมตรแรกจากถนนพหลโยธิน ใช้ชื่อซอยว่า "ซอยสุทธิสารวินิจฉัย" จำนวน 3 ซอย ส่วนซอยในถนนช่วงพ้นระยะ 500 เมตรแรกจากถนนพหลโยธินเป็นต้นไป ใช้ชื่อซอยว่า ซอยอินทามระ มีจำนวน 59 ซอย โดยตั้งชื่อตามนามสกุลของพลตำรวจโท โต๊ะ อินทามระ หัวหน้ากองคลังของกรมตำรวจ ผู้ตัดถนนต่อจากถนนสุทธิสารวินิจฉัยเดิมเข้าสู่ที่ดินของกรมตำรวจ เพื่อพัฒนาที่ดินให้เป็นที่อยู่อาศัยของข้าราชการตำรวจในเวลานั้น ปัจจุบัน ชื่อ "สุทธิสาร" และ "สุทธิสารวินิจฉัย" ได้ถูกนำไปใช้ในสถานที่ต่าง ๆ ที่ถนนตัดผ่าน ทั้งของทางราชการและเอกชน เช่น สถานีสุทธิสาร ในเส้นทางรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล, สถานีตำรวจนครบาลสุทธิสาร เป็นต้น