ศัพทมูล ที่มาของชื่อเขตบางรักมีการสันนิษฐานอยู่หลายทฤษฎี ได้แก่สันนิษฐานว่าบริเวณเขตบางรักนี้ในอดีตมีคลองเล็ก ๆ สายหนึ่งที่ไหลลงแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งมีซุงของต้นรักขนาดใหญ่ในคลองนั้น จึงเรียกชื่อบริเวณนี้ตามชื่อไม้ว่า "บางรัก" ส่วนบริเวณที่เคยเป็นคอลงที่มีซุงนั้น เชื่อว่าเป็นบริเวณตรอกซุงในปัจจุบัน สันนิษฐานว่าบริเวณนี้ในอดีตมีต้นรักขึ้นอยู่เป็นจำนวนมากจนเป็นที่มาของชื่อ “บางรัก“ ความเชื่อนี้ในปัจจุบันได้รับการยอมรับมาก สังเกตจากตราสัญลักษณ์ประจำเขตนั้นก็ใช้รูปดอกรักประกอบ ตามความเชื่อว่าเป็นที่มาของชื่อเขต สันนิษฐานว่าเพี้ยนมาจากคำว่า “บางรักษ์” ซึ่งมาจากสำนักงานอำเภอในอดีตตั้งอยู่ตรงข้ามกับโรงพยาบาลแห่งหนึ่งที่เป็นที่รู้จัก อย่างไรก็ตามแนวคิดนี้ถูกคัดค้านว่ามาจากถูกเข้าใจผิดจากชื่อของ อำเภอบางรักษ์ ในย่านบ้านทวาย (บริเวณต่อระหว่างเขตสาทร กับเขตบางรักในปัจจุบัน) สันนิษฐานว่าในอดีต เป็นย่านที่มีชื่อว่าคลองบางขวางล่างใต้ เนื่องด้วยเป็นบริเวณที่มีการทะเลาะวิวาทถึงขั้นฆ่ากันตายบ่อยครั้ง ชาวบ้านจึงขอให้ใช้ชื่อที่เป็นมงคลเรียกย่านนี้ว่า "บางรัก" แทนชื่อเดิม ในปัจจุบันเป็นที่เชื่อกันในความเป็นสิริมงคลของชื่อเขตบางรัก ว่ามีความเกี่ยวข้องกับความรัก ในทุก ๆ ปี สำนักงานเขตจะจัดพิธีจดทะเบียนสมรสหมู่ขึ้นในวันวาเลนไทน์ของทุกปี แสดงให้เห็นความนิยมในชื่อของ “รัก” ที่ปรากฏในชื่อเขตในฐานะของความรัก เศรษฐกิจ ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) กรุงเทพฯ ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบได้สนับสนุนให้บริเวณเขตบางรักช่วงถนนเจริญกรุงเป็นพื้นที่เขตธุรกิจสร้างสรรค์ ในปัจจุบันเขตบางรักเป็นที่ตั้งของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจสร้างสรรค์ คือ ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) และ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (CEA) นอกจากนี้ในเขตบางรักประกอบไปด้วยอาคารสำนักงานและอาคารระฟ้าหลายแห่ง เช่น จิวเวลรี่ เทรด เซ็นเตอร์, คิง เพาเวอร์ มหานคร และตึกสเตท การท่องเที่ยว เขตบางรักเป็นที่ตั้งของโรงแรมหรูที่มีอายุเก่าแก่หลายแห่ง เช่น โรงแรมดุสิตธานี, โรงแรมแมนดาริน โอเรียนเต็ล กรุงเทพ, โรงแรม ดับเบิ้ลยู กรุงเทพฯ, โรงแรมแชงการีลา นอกจากนี้เขตบางรักยังเป็นที่รู้จักจากสถานที่ท่องเที่ยวกลุ่มอาคารเก่าแก่สถาปัตยกรรมยุคโคโลเนียลและตะวันตก เช่น ศุลกสถาน (โรงภาษีร้อยชักสาม), ตึกเก่าอาคาร อีสต์ เอเชียติก, บ้านสาทร, พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก, อาคารไปรษณีย์กลาง และ ห้องสมุดเนียลสัน เฮส์ สถานศึกษา โรงเรียนอัสสัมชัญ เขตบางรักเป็นที่ตั้งของสถานศึกษาที่มีชื่อเสียงเก่าแก่หลายแห่ง ดังที่ปรากฏในคำขวัญเขตวรรค “แหล่งเรียนรู้โรงเรียนดัง” โดยในเขตบางรักเป็นที่ตั้งของโรงเรียนเอกชนเก่าแก่ของประเทศไทย เช่น โรงเรียนอัสสัมชัญ โรงเรียนคาทอลิกแห่งแรกในประเทศไทย, โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย โรงเรียนเอกชนแห่งแรกในประเทศไทย, โรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์ โรงเรียนสตรีคาทอลิกแห่งแรกในประเทศไทย และโรงเรียนเอกชนของคาทอลิกอื่น ๆ คือ โรงเรียนอัสสัมชัญศึกษา และโรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ โรงเรียนรัฐบาลที่เป็นที่รู้จัก เช่น โรงเรียนปวโรฬาร, โรงเรียนสตรีมหาพฤฒาราม สำหรับสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาหรือวิชาชีพ เช่น วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยศิลปากร, สถาบันการโรงแรม เลอ กอร์ดอง เบลอ และ วิทยาลัยสารพัดช่างสี่พระยา สถานพยาบาล ในเขตบางรักประกอบด้วยโรงพยาบาล 4 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลรัฐบาล 1 แห่ง คือ โรงพยาบาลเลิดสิน และโรงพยาบาลเอกชน 3 แห่ง คือ โรงพยาบาลบีเอ็นเอช โรงพยาบาลเอกชนแห่งแรกในประเทศไทย, โรงพยาบาลกรุงเทพคริสเตียน (สังกัดสภาคริสตจักรในประเทศไทย) และ โรงพยาบาลมเหสักข์ (สังกัดเครือโรงพยาบาลวิภาราม)
ศาสนสถาน เขตบางรักประกอบวัดในศาสนาพุทธ 5 แห่ง ในจำนวนนี้เป็นพระอารามหลวง 2 แห่ง คือ วัดมหาพฤฒารามและวัดหัวลำโพง นอกจากนี้ยังเป็นที่ตั้งของโบสถ์คริสต์ ของโรมันคาทอลิก เช่น อาสนวิหารอัสสัมชัญ ที่ตั้งของเขตมิสซังกรุงเทพฯและเป็นศูนย์กลางของการควบคุมดูแลคาทอลิกในประเทศไทย และอารามคาร์แมล กรุงเทพฯ ของโปรเตสแตนต์ เช่น คริสตจักรสัจจศึกษา, คริสตจักรสะพานเหลือง และของแองกลิคันคือ คริสตจักรไคร้สต์เชิร์ช ส่วนมัสยิดประกอบด้วย มัสยิดบ้านอู่, มัสยิดฮารูณ, มัสยิดมิตรภาพไทย-ปากีสถาน, มัสยิดนูรุ้ลนะซีฮะห์, มัสยิดบูรัลนะซีฮาร์ นอกจากสามศาสนาหลักของประเทศไทย แล้วยังเป็นที่ตั้งของโบสถ์พราหมณ์แบบอินเดียใต้ คือ วัดพระศรีมหาอุมาเทวี และศาลเจ้าจีนต่าง ๆ เช่น ศาลเจ้าปุ้นเถ้ากง, ศาลเจ้าเจียวเอ็งเนี้ยว การคมนาคม ถนนสาทรเหนือ ระบบถนน ถนนสายหลัก ได้แก่ ถนนพระรามที่ 4 ถนนสีลม ถนนสาทรเหนือ ถนนนราธิวาสราชนครินทร์ ถนนเจริญกรุง ทางพิเศษศรีรัช และถนนสายรอง เช่น ถนนสี่พระยา ถนนสุรวงศ์ ถนนนเรศ ถนนทรัพย์ ถนนมหาเศรษฐ์ ถนนมเหสักข์ ระบบขนส่งมวลชน รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม ประกอบด้วยสถานีช่องนนทรี, สถานีสุรศักดิ์, สถานีศาลาแดง และสถานีสะพานตากสิน รถโดยสารด่วนพิเศษ สายสาทร–ราชพฤกษ์ ประกอบด้วยสถานีสาทร รถไฟฟ้ามหานคร ประกอบด้วยสถานีสีลม เรือด่วนเจ้าพระยา ประกอบด้วยท่าสาทร, ท่าโอเรียนเต็ล และท่าวัดม่วงแค ประวัติ เขตบางรักตลอดริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา อำเภอบางรักก่อตั้งขึ้นเป็นทางการในวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2450 โดยการรวมพื้นที่อำเภอชั้นในของพระนคร 4 อำเภอตามประกาศกระทรวงนครบาล นับเป็น 1 ใน 8 อำเภอของกรุงเทพฯ ในขณะนั้น ต่อมาใน พ.ศ. 2515 หลังการประกาศของคณะปฏิวัติให้จัดตั้งกรุงเทพมหานครขึ้นแทนที่นครหลวงกรุงเทพธนบุรีซึ่งเกิดจากการรวมกันของจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรี อำเภอบางรักจึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร ส่วนตำบลต่าง ๆ ก็เปลี่ยนสถานะฐานะเป็นแขวงแทน พื้นที่แขวงบางรักประกอบด้วยโบราณสถานที่สำคัญ เช่น บ้านสาทร ซึ่งปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของโรงแรมดับเบิ้ลยู เป็นต้น แขวงสีลมตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเขต มีอาณาเขตติดต่อกับแขวงข้างเคียงดังนี้ ทิศเหนือ ติตต่อกับแขวงสุริยวงศ์ (เขตบางรัก) มีถนนสีลมเป็นเส้นแบ่งเขต ทิศตะวันออก ติตต่อกับแขวงลุมพินี (เขตปทุมวัน) มีถนนพระรามที่ 4 เป็นเส้นแบ่งเขต ทิศใต้ ติตต่อกับแขวงทุ่งมหาเมฆและแขวงยานนาวา (เขตสาทร) มีคลองสาทรเป็นเส้นแบ่งเขต ทิศตะวันตก ติตต่อกับแขวงบางรัก (เขตบางรัก) มีถนนเจริญกรุงเป็นเส้นแบ่งเขต สุริยวงศ์ เป็นแขวงหนึ่งในพื้นที่การปกครองของเขตบางรัก กรุงเทพมหานคร แขวงสุริยวงศ์ตั้งอยู่ทางตอนกลาง-ใต้ของเขต มีอาณาเขตติดต่อกับแขวงข้างเคียงดังนี้ ทิศเหนือ ติตต่อกับแขวงสี่พระยา (เขตบางรัก) มีถนนสุรวงศ์เป็นเส้นแบ่งเขต ทิศตะวันออก ติตต่อกับแขวงปทุมวัน (เขตปทุมวัน) มีถนนพระรามที่ 4 เป็นเส้นแบ่งเขต ทิศใต้ ติตต่อกับแขวงสีลม (เขตบางรัก) มีถนนสีลมเป็นเส้นแบ่งเขต ทิศตะวันตก ติตต่อกับแขวงบางรัก (เขตบางรัก) มีถนนเจริญกรุงเป็นเส้นแบ่งเขต แขวงบางรัก เป็นแขวงหนึ่งในพื้นที่การปกครองของเขตบ งรัก กรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นแขวงที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ เนื่องจากเป็นแหล่งชุมชนของชาวต่างชาติที่มาอาศัยในกรุงเทพมหานครตั้งแต่การสร้างถนนเจริญกรุงและรถรางขึ้น จึงทำให้เป็นบริเวณที่ชาวยุโรปมาตั้งรกราก ค้าขาย และสร้างสถานทูต เช่น ฝรั่งเศส, โปรตุเกส, สหราชอาณาจักร นอกจากนี้ยังเป็นที่ตั้งของวัดม่วงแค, วัดสวนพลู, ตึกสเตท ทาวเวอร์, โอ.พี.การ์เดน, โรงเรียนอัสสัมชัญ, โรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์, โรงเรียนอัสสัมชัญศึกษา, อาคารสำนักงานของกสท โทรคมนาคม และศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ พื้นที่แขวงบางรักประกอบด้วยชุมชนโบราณหลายแห่ง เช่น ชุมชนมัสยิดฮารูณ และยังเป็นที่ตั้งของโบราณสถานที่มีสถาปัตยกรรมแบบตะวันตกที่สวยงาม เช่น อาสนวิหารอัสสัมชัญ, ศุลกสถาน, อาคาร อีสต์ เอเชียติก, อาคารไปรษณีย์กลาง เป็นต้น ทิศเหนือ ติตต่อกับแขวงตลาดน้อย (เขตสัมพันธวงศ์)