สถานที่สำคัญ โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ บดินทรเดชา พิพิธภัณฑ์เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) โรงเรียนอุดมศึกษา สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย โรงเรียนพระยาประเสริฐสุนทราศรัย (กระจ่าง สิงหเสนี) โรงเรียนอิสลามสันติชน โรงเรียนบางกอกศึกษา โกลเด้นเพลซ สาขาพระราม 9 สวนสาธารณะวังทอง สยามแม็คโคร สาขา โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) , สาขาทาวน์อินทาวน์ บิ๊กซี สาขาลาดพร้าว วังทองหลาง เป็นแขวงหนึ่งของเขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร แขวงวังทองหลางตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของเขตวังทองหลาง มีอาณาเขตติดต่อกับแขวงข้างเคียงเรียงตามเข็มนาฬิกาดังนี้ ทิศเหนือ ติตต่อกับแขวงสะพานสอง (เขตวังทองหลาง) มีถนนลาดพร้าวเป็นเส้นแบ่งเขต ทิศตะวันออก ติดต่อกับแขวงพลับพลา (เขตวังทองหลาง) มีถนนประดิษฐ์มนูธรรมเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศใต้ ติดต่อกับแขวงพลับพลา (เขตวังทองหลาง) มีถนนประดิษฐ์มนูธรรมเป็นเส้นแบ่งเขต ทิศตะวันตก ติดต่อกับแขวงบางกะปิและแขวงสามเสนนอก (เขตห้วยขวาง) มีคลองลาดพร้าวเป็นเส้นแบ่งเขต ทางสายหลักในพื้นที่แขวงวังทองหลาง ได้แก่ ถนนลาดพร้าว ถนนประดิษฐ์มนูธรรม ถนนประชาอุทิศ ทางพิเศษฉลองรัช ทางสายรองและทางลัดในพื้นที่แขวง ได้แก่ ซอยลาดพร้าว 64 (เกตุนุติ) และซอยลาดพร้าว 64 แยก 3 ซอยลาดพร้าว 80 (จันทิมา) และซอยลาดพร้าว 80 แยก 22 ซอยจำเนียรเสริม สะพานสอง เป็นแขวงหนึ่งของเขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2552 โดยแยกจากแขวงวังทองหลางพร้อมกับแขวงคลองเจ้าคุณสิงห์และแขวงพลับพลา แขวงสะพานสองตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือและทิศเหนือของเขตวังทองหลาง มีอาณาเขตติดต่อกับแขวงข้างเคียงเรียงตามเข็มนาฬิกาดังนี้ ทิศเหนือ ติตต่อกับแขวงลาดพร้าว (เขตลาดพร้าว) มีคลองทรงกระเทียม ถนนโชคชัย 4 และถนนสังคมสงเคราะห์เป็นเส้นแบ่งเขต ทิศตะวันออก ติดต่อกับแขวงคลองเจ้าคุณสิงห์ (เขตวังทองหลาง) มีถนนประดิษฐ์มนูธรรมเป็นเส้นแบ่งเขต ทิศใต้ ติดต่อกับแขวงวังทองหลาง (เขตวังทองหลาง) มีถนนลาดพร้าวเป็นเส้นแบ่งเขต ทิศตะวันตก ติดต่อกับแขวงสามเสนนอก (เขตห้วยขวาง) มีคลองลาดพร้าวเป็นเส้นแบ่งเขต ทางสายหลักในพื้นที่แขวงสะพานสอง ได้แก่ ถนนประดิษฐ์มนูธรรม ทางพิเศษฉลองรัช ถนนโชคชัย 4 ถนนสังคมสงเคราะห์ ซอยลาดพร้าว 71 (สังคมสงเคราะห์เหนือ 1) คลองเจ้าคุณสิงห์ เป็นแขวงหนึ่งของเขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2552 โดยแยกจากแขวงวังทองหลางพร้อมกับแขวงสะพานสองและแขวงพลับพลา แขวงคลองเจ้าคุณสิงห์ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเขตวังทองหลาง มี ทิศเหนือ ติตต่อกับแขวงคลองจั่น (เขตบางกะปิ) มีคลองทรงกระเทียมเป็นเส้นแบ่งเขต ทิศตะวันออก ติดต่อกับแขวงคลองจั่น (เขตบางกะปิ) มีคลองจั่น คลองลำพังพวย และถนนลาดพร้าว 101 เป็นเส้นแบ่งเขต ทิศใต้ ติดต่อกับแขวงคลองจั่น (เขตบางกะปิ) และแขวงพลับพลา (เขตวังทองหลาง) มีถนนลาดพร้าวเป็นเส้นแบ่งเขต ทิศตะวันตก ติดต่อกับแขวงสะพานสอง (เขตวังทองหลาง) และแขวงลาดพร้าว (เขตลาดพร้าว) มีถนนประดิษฐ์มนูธรรมเป็นเส้นแบ่งเขต ทางสายหลักในพื้นที่แขวงคลองเจ้าคุณสิงห์ ได้แก่ ถนนลาดพร้าว 101 ซอยลาดพร้าว 87 (จันทราสุข) สำนักงานเขตวังทองหลาง คลินิกศูนย์แพทย์พัฒนา พลับพลา เป็นแขวงหนึ่งของเขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2552 โดยแยกจากแขวงวังทองหลางพร้อมกับแขวงสะพานสองและแขวงคลองเจ้าคุณสิงห์ แขวงพลับพลาตั้งอยู่ทางตอนกลางและตอนใต้ของเขตวังทองหลาง มีอาณาเขตติดต่อกับแขวงข้างเคียงเรียงตามเข็มนาฬิกาดังนี้ ทิศเหนือ ติตต่อกับแขวงคลองเจ้าคุณสิงห์ (เขตวังทองหลาง) มีถนนลาดพร้าวเป็นเส้นแบ่งเขต ทิศตะวันออก ติดต่อกับแขวงคลองจั่น (เขตบางกะปิ) มีคลองจั่นเป็นเส้นแบ่งเขต ทิศใต้ ติดต่อกับแขวงหัวหมาก (เขตบางกะปิ) มีคลองแสนแสบเป็นเส้นแบ่งเขต ทิศตะวันตก ติดต่อกับแขวงบางกะปิ (เขตห้วยขวาง) และแขวงวังทองหลาง (เขตวังทองหลาง) มีคลองลาดพร้าวและถนนประดิษฐ์มนูธรรมเป็นเส้นแบ่งเขต ทางสายหลักในพื้นที่แขวงพลับพลา ได้แก่ ถนนลาดพร้าว ถนนประชาอุทิศ ซอยรามคำแหง 39 (เทพลีลา) ทางสายรองในพื้นที่แขวง ได้แก่ ถนนศรีวรา ถนนอินทราภรณ์ ซอยลาดพร้าว 112 (เอี่ยมสมบูรณ์) ซอยลาดพร้าว 122 / ซอยรามคำแหง 65 (มหาดไทย 1) ซอยรามคำแหง 21 (นวศรี) ซอยรามคำแหง 43/1 (คุณหญิงเจือ) ซอยรามคำแหง 53 (จันทร์ศรีชวาลา) โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษในกรุงเทพมหานคร ประเภทสหวิทยา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ขนาดเนื้อที่ 39 ไร่ 3 งาน 86 ตารางวา เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) อัครมหาเสนาบดีสมุหนายก และแม่ทัพใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เล็งเห็นถึงความสำคัญของการศึกษา ท่านเห็นว่าโรงเรียนจะเป็นสถานที่ดักความชั่ว และเป็นที่ที่สอนความเป็นคน แนวความคิดของท่านได้รับการสืบสานโดยทายาทชั้นเหลนของท่าน ในปีพ.ศ. 2507 คุณหญิงนครราชเสนี (เจือ สิงหเสนี) ได้บริจาคที่ดินผืนนี้อันเคยเป็นที่พักทัพของท่าน ดำเนินการก่อสร้างโรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ก็ได้รับนักเรียนรุ่นแรกโดยใช้โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา เป็นสถานที่เรียน โดยมีนายเฉลิม สิงหเสนี เป็นอาจารย์ใหญ่ ในปีการศึกษา 2514 กรมสามัญศึกษาแต่งตั้งนายเฉลิม สิงหเสนี เป็นอาจารย์ใหญ่คนแรก ได้รับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 6 ห้องเรียนและนักเรียนชั้น ม.4 จำนวน 12 ห้องเรียน มีนักเรียน 838 คน ครู-อาจารย์ 43 คน โดยใช้สถานที่เรียนครั้งแรก ณ โรงเรียนเตรียมอุดม พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้โรงเรียนใช้ตรา "พระเกี้ยว" เป็นเครื่องหมายประจำโรงเรียน และโรงเรียนได้อัญเชิญตรานี้ประดับอกเสื้อเหนืออักษรย่อ บ.ด. สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย พ.ศ. 2516 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายได้ย้ายมาเรียนที่โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) และในปีต่อมานักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นก็ย้ายมาเรียนที่โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ในปีเดียวกันนั้นสมาคมครูและผู้ปกครองก็ถือกำเนิดขึ้น เป็นวันคล้ายวันอสัญกรรมของเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ซึ่ง 24 มิถุนายน ของทุกปีถือเป็นวันสำคัญของโรงเรียน ได้มีการสร้างอนุสาวรีย์ของท่านขึ้นและพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งทรงดำรงพระราชอิสริยยศเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินมาทรงทำพิธีเปิด พ.ศ. 2529 มีการสร้างพระพุทธรูปประจำโรงเรียน โดยสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร ประทานนามว่า "พระพุทธบดินทรพิทักษ์บริรักษ์ศิษยา" พ.ศ. 2530 เนื่องในโอกาสเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เจริญพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ คุณจวงจันทร์ สิงหเสนี และสมาคมศิษย์เก่าได้สมทบทุนสร้าง "อาคารเฉลิมพระเกียรติ" ขึ้น โดยชั้นบนของอาคารใช้เป็นหอประชุม ชั้นล่างคือ "หอสมุดคุณหญิง นครราชเสนี (เจือ สิงหเสนี)" พ.ศ. 2532 โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ได้รับคัดเลือกให้เป็น "โรงเรียนพระราชทานระดับมัธยมศึกษาขนาดใหญ่" พ.ศ. 2537 เป็นปี "กาญจนาภิเษก" ด้วยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงครองศิริราชสมบัติครบรอบ 50 ปี และเป็นปีที่โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ได้ก่อตั้งมาครบรอบ 25 ปี ทายาทสกุลสิงหเสนี คณาจารย์ นักเรียน ผู้ปกครอง และนักเรียนเก่า จึงได้ร่วมใจสร้างพิพิธภัณฑ์เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี)