ทางพิเศษสาย S1 ทางต่างระดับอาจณรงค์ถึงคลองบางอ้อ ส่วนทางสายรองและทางลัด ได้แก่ ซอยสุขุมวิท 54 (รัตนพราหมณ์) ซอยสุขุมวิท 62 (สามภพนฤมิตร) ซอยสุขุมวิท 62/1 (อู่รถเมล์ขาว) ซอยสุขุมวิท 64 (พงษ์เวชอนุสรณ์) ซอยสุขุมวิท 93 (พึ่งมี) และซอยพึ่งมี 50 (นิรันดร์วิลล่า) ซอยสุขุมวิท 101 (ปุณณวิถี) ซอยสุขุมวิท 101/1 (วชิรธรรมสาธิต) และซอยวชิรธรรมสาธิต 70 (สุภาพงษ์) ซอยพึ่งมี 29 (วัดราษฎร์ศรัทธาธรรม) ซอยปุณณวิถี 28 (สาธิตพัฒนา) และซอยวชิรธรรมสาธิต 23 (จุฬา 2) ซอยปุณณวิถี 30 / ซอยวชิรธรรมสาธิต 25 (จุฬา 3) ซอยวชิรธรรมสาธิต 57 (สามพี่น้อง) ซอยอุดมสุข 51 (ประวิทย์และเพื่อน) ระบบขนส่งมวลชน รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท (สถานีบางจากและสถานีปุณณวิถี) วัดธรรมมงคลเถาบุญญนนทวิหาร วัดวชิรธรรมสาธิตวรวิหาร (วัดทุ่ง) สวนนกโรงกลั่นบางจาก โครงการอนุรักษ์ขนมไทย การแบ่งเขตการปกครอง วันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 กรุงเทพมหานครได้ประกาศจัดตั้งแขวงพระโขนงใต้แยกจากพื้นที่แขวงบางจากโดยใช้ถนนสุขุมวิทเป็นเส้นแบ่งเขตและให้มีผลบังคับใช้ในวันเดียวกัน ส่งผลให้เขตพระโขนงในปัจจุบันแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 2 แขวง ได้แก่ บางจาก เป็นแขวงหนึ่งในพื้นที่เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร แขวงบางจากตั้งอยู่ทางตอนกลางเยื้องตะวันออกของเขตพระโขนง มีอาณาเขตติดต่อกับแขวงอื่นเรียงตามเข็มนาฬิกาดังนี้ ทิศเหนือ ติดต่อกับแขวงพระโขนงเหนือ (เขตวัฒนา) และแขวงอ่อนนุช (เขตสวนหลวง) มีซอยสุขุมวิท 81 (ศิริพจน์), คลองบางนางจีน, คลองขวางบน, คลองสวนอ้อย, ลำราง, คลองบ้านหลาย, ซอยวชิรธรรมสาธิต 57 แยก 41 (พัฒนพล), ซอยวชิรธรรมสาธิต 57 (สามพี่น้อง) และซอยวชิรธรรมสาธิต 57 แยก 36 (ยาจิตร์) เป็นเส้นแบ่งเขต ทิศตะวันออก ติดต่อกับแขวงอ่อนนุช (เขตสวนหลวง) และแขวงหนองบอน (เขตประเวศ) มีคลองเคล็ดเป็นเส้นแบ่งเขต ทิศใต้ ติดต่อกับแขวงบางนาเหนือ (เขตบางนา) มีถนนอุดมสุข ซอยอุดมสุข 29 (พุทธวิถี 1), ซอยวชิรธรรมสาธิต 32 (จุฬา 4) และซอยสุขุมวิท 101/1 (วชิรธรรมสาธิต) เป็นเส้นแบ่งเขต ทิศตะวันตก ติดต่อกับแขวงพระโขนงใต้ (เขตพระโขนง) มีถนนสุขุมวิทเป็นเส้นแบ่งเขต พระโขนงใต้ เป็นแขวงหนึ่งในพื้นที่เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร เป็น 1 ใน 13 แขวงที่ตั้งขึ้นใหม่ล่าสุดตามประกาศการเปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงของกรุงเทพมหานคร แขวงพระโขนงใต้ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของเขตพระโขนง มีอาณาเขตติดต่อกับแขวงและตำบลข้างเคียงเรียงตามเข็มนาฬิกาดังนี้ ทิศเหนือ ติดต่อกับแขวงพระโขนง (เขตคลองเตย) มีแนวเส้นตรงจากจุดกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยาไปบรรจบซอยสุขุมวิท 52 (ศิริพร) และซอยสุขุมวิท 52 เป็นเส้นแบ่งเขต ทิศตะวันออก ติดต่อกับแขวงบางจาก (เขตพระโขนง) มีถนนสุขุมวิทเป็นเส้นแบ่งเขต ทิศใต้ ติดต่อกับแขวงบางนาเหนือ (เขตบางนา) มีคลองบางอ้อเป็นเส้นแบ่งเขต ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลบางน้ำผึ้งและตำบลบางกอบัว (อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ) มีแนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเส้นแบ่งเขต ทางพิเศษสาย S1 หรือ ทางด่วนขั้นที่ 3 สายใต้ ตอน S1 เป็นเส้นทางของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย เป็นทางพิเศษยกระดับขนาด 6 ช่องจราจร มีจุดเริ่มต้นจากปลายทางพิเศษฉลองรัช ยกระดับบนทางพิเศษเฉลิมมหานครเดิม (ราบโรงกลั่น) เชื่อมต่อกับทางพิเศษบูรพาวิถี ที่ด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษบางนา กิโลเมตรที่ 6 ระยะทาง 4.7 กิโลเมตรรู้จักในนาม ทางพิเศษสายบางนา-อาจณรงค์ ก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดใช้งานเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2548 ซึ่งมีพิธีเปิดบริเวณ ด่านบางนา กม.6 ขาเข้า ของทางพิเศษบูรพาวิถี โดย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นเป็นประธานในพิธี มีด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษจำนวน 1 ด่านคือ ด่านบางจาก ซึ่งเป็นด่านของทางพิเศษเฉลิมมหานคร ถนนทางรถไฟสายเก่าปากน้ำ (อักษรโรมัน: Thanon Thang Rotfai Sai Kao Paknam) เป็นถนนสายสำคัญสายหนึ่งของกรุงเทพมหานครและจังหวัดสมุทรปราการ เดิมเป็นทางเดินรถไฟสายปากน้ำ ต่อมาเมื่อยกเลิกรถไฟสายปากน้ำแล้วจึงปรับเป็นถนนขนาด 2 ช่องทางจราจรสวนทาง มีจุดเริ่มต้นจากถนนพระรามที่ 4 ในพื้นที่แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร ตัดกับถนนเกษมราษฏร์ แล้วจึงเลียบทางพิเศษเฉลิมมหานคร ตัดกับถนนกล้วยน้ำไทแล้วจึงลอดใต้ทางพิเศษเฉลิมมหานคร จากนั้นจึงข้ามคลองพระโขนงเข้าสู่แขวงพระโขนง เขตคลองเตย ตัดกับซอยสุขุมวิท 50 จากนั้นจึงเข้าพื้นที่แขวงพระโขนงใต้ เขตพระโขนง บริเวณใกล้กับจุดตัดกับถนนอาจณรงค์ซึ่งเป็นถนนเลียบทางรถไฟ แล้วเลียบแม่น้ำเจ้าพระยา ตัดกับซอยสุขุมวิท 62 จากนั้นจึงข้ามคลองบางอ้อเข้าพื้นที่แขวงบางนาเหนือ เขตบางนา ตัดกับถนนสรรพาวุธเข้าพื้นที่แขวงบางนาใต้ แล้วข้ามคลองบางนา ผ่านหน่วยงานทหารเรือ จากนั้นจึงเข้าเขตจังหวัดสมุทรปราการ โดยถนนสายนี้ทำหน้าที่แบ่งเขตระหว่างเขตเทศบาลตำบลสำโรงเหนือ อำเภอเมืองสมุทรปราการ กับเขตเทศบาลเมืองปู่เจ้าสมิงพราย อำเภอพระประแดง จากนั้นจึงข้ามคลองสำโรง แล้วตัดกับถนนปู่เจ้าสมิงพราย สุดท้ายจึงลอดใต้ทางพิเศษกาญจนาภิเษก และไปสิ้นสุดที่ถนนสุขุมวิทกิโลเมตรที่ 22 (บริเวณพิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ) ที่ทางแยกโค้งเกริก ถนนทางรถไฟสายเก่านี้เดิมเคยเป็น ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3109 ปัจจุบันอยู่ในความรับผิดชอบของกรุงเทพมหานครและกรมทางหลวงชนบท (ช่วงถนนในเขตจังหวัดสมุทรปราการ) ในเขตกรุงเทพมหานครเป็นถนนลาดยางและถนนคอนกรีต สภาพถนนตั้งแต่ซอยสุขุมวิท 50 ถึงทางแยกสรรพาวุธถนนเป็นหลุมบ่อเสียหายมาก มีหลุมบ่อขนาดใหญ่และลึกอยู่ทั่วไป (เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง โดยเฉพาะผู้ขับขี่จักรยานยนต์) เนื่องจากเป็นเส้นทางวิ่งของรถบรรทุกสินค้าเข้าท่าเรือคลองเตย ส่วนเขตจังหวัดสมุทรปราการเป็นถนนคอนกรีต โดยทั่วไปสภาพถนนดี มั่นคง แข็งแรง มีหลุมบ่อบ้างเล็กน้อยบริเวณหน้าบริษัทโตโยต้า มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด ช่วงตั้งแต่ถนนสุขุมวิทถึงถนนปู่เจ้าสมิงพรายเปิดให้เดินรถขาขึ้นได้ทางเดียว ทางพิเศษเฉลิมมหานคร หรือ ระบบทางด่วนขั้นที่ 1 เป็นทางพิเศษสายแรกของประเทศไทย โดยการทางพิเศษแห่งประเทศไทย เป็นทางพิเศษที่เชื่อมการคมนาคมขนส่งระหว่างภาคต่าง ๆ ของประเทศเข้าด้วยกัน โดยไม่ต้องเดินทางผ่านการจราจรหนาแน่นในใจกลางกรุงเทพมหานคร ช่วยลดปริมาณการจราจรที่คับคั่งบนถนนระดับดิน รวมทั้งช่วยให้การขนส่งสินค้าระหว่างท่าเรือคลองเตยกับภาคต่าง ๆ ให้เป็นไปด้วยความสะดวกและรวดเร็ว มีระยะทางทั้งสิ้น 27.1 กิโลเมตร ทางพิเศษเฉลิมมหานครมีจำนวน 3 เส้นทาง มีจุดเริ่มต้นทางฝั่งทิศเหนือ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก เชื่อมต่อกันที่ทางแยกต่างระดับท่าเรือ ระยะทางรวม 27.1 กิโลเมตร ประกอบด้วย สายดินแดง–ท่าเรือ สายบางนา–ท่าเรือ และสายดาวคะนอง–ท่าเรือ สายดินแดง–ท่าเรือ จุดเริ่มต้นของทางพิเศษเฉลิมมหานคร สายดินแดง - ท่าเรือ บริเวณปลายถนนวิภาวดีรังสิต ผ่านทางแยกต่างระดับมักกะสัน ทางพิเศษเฉลิมมหานครช่วงที่เป็นทางระดับดิน ทางพิเศษสายดินแดง–ท่าเรือ เปิดให้บริการ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2524 ระยะทาง 8.9 กิโลเมตร แนวสายทางเริ่มจากปลายถนนวิภาวดีรังสิต มุ่งไปทางทิศใต้ ผ่านทางแยกต่างระดับมักกะสัน ผ่านถนนสุขุมวิท ช่วงนี้เป็นทางยกระดับขนาด 6 ช่องจราจร และเป็นทางระดับดินตั้งแต่ถนนสุขุมวิทถึงถนนพระรามที่ 4 และเป็นทางยกระดับอีกครั้งในช่วงถนนพระรามที่ 4 ถึงทางแยกต่างระดับท่าเรือ เชื่อมต่อกับทางพิเศษสายดาวคะนอง–ท่าเรือ ทางพิเศษสายนี้ประกอบด้วยด่านเก็บค่าผ่านทางจำนวน 7 ด่านคือ ด่านดินแดง, ด่านเพชรบุรี, ด่านสุขุมวิท, ด่านลุมพินี (กำลังก่อสร้าง), ด่านพระรามสี่ 1, ด่านเลียบแม่น้ำ และด่านท่าเรือ 1 โดยด่านลุมพินีเชื่อมต่อโดยตรงกับโครงการวัน แบงค็อก